Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอห้วยราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอห้วยราช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Huai Rat
ถนนสายหนึ่งในอำเภอห้วยราช
ถนนสายหนึ่งในอำเภอห้วยราช
คำขวัญ: 
ข้าวหอมมะลิดี มากมีวัฒนธรรม
เลิศล้ำผ้าไหม มหกรรมไทยว่าวอีสาน
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอห้วยราช
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอห้วยราช
พิกัด: 14°57′36″N 103°11′18″E / 14.96000°N 103.18833°E / 14.96000; 103.18833
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด182.12 ตร.กม. (70.32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด37,519 คน
 • ความหนาแน่น206.01 คน/ตร.กม. (533.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31000
รหัสภูมิศาสตร์3116
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอห้วยราช ตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ห้วยราช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นอำเภอที่อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองบุรีรัมย์มากที่สุด และเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอห้วยราชตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ท้องที่อำเภอห้วยราชเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยราช[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ยกฐานะกิ่งอำเภอแห่งนี้ขึ้นเป็น อำเภอห้วยราช[2] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ปีเดียวกัน

  • วันที่ 3 เมษายน 2482 ตั้งตำบลกระสัง แยกออกจากตำบลสองชั้น และตำบลห้วยราช ตั้งตำบลลำดวน แยกออกจากตำบลห้วยราช และตั้งตำบลสามแวง แยกออกจากตำบลห้วยราช และตำบลบ้านยาง[3] กับโอนพื้นที่หมู่ 1,5,23 (ในขณะนั้น) ของตำบลสวายจีก และพื้นที่หมู่ 8,9 ของตำบลบ้านยาง มาขึ้นกับตำบลห้วยราช
  • วันที 19 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยราช[4]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลตาเสา แยกออกจากตำบลสามแวง[5]
  • วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลสนวน แยกออกจากตำบลสวายจีก[6]
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านตะโก แยกออกจากตำบลห้วยราช[7]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลห้วยราช ตำบลสามแวง ตำบลตาเสา ตำบลบ้านตะโก และตำบลสนวน จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยราช[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 13 กันยายน 2534 ตั้งตำบลโคกเหล็ก แยกออกจากตำบลสามแวง[8]
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2535 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอห้วยราช โดยกำหนดให้ตำบลห้วยราช มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[9] ตำบลสามแวง มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[10] ตำบลตาเสา มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[11] ตำบลสนวน มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[12] และตำบลบ้านตะโก มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[13]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอห้วยราช[2]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลเมืองโพธิ์ แยกออกจากตำบลตาเสา และตั้งตำบลห้วยราชา แยกออกจากตำบลห้วยราช[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้วยราช เป็นเทศบาลตำบลห้วยราช[15] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 17 กันยายน 2546 ยุบสภาตำบลห้วยราชา รวมกับเทศบาลตำบลห้วยราช[16] และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอห้วยราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ห้วยราช (Huai Rat) 10 หมู่บ้าน
2. สามแวง (Sam Waeng) 09 หมู่บ้าน
3. ตาเสา (Ta Sao) 10 หมู่บ้าน
4. บ้านตะโก (Ban Tako) 09 หมู่บ้าน
5. สนวน (Sanuan) 12 หมู่บ้าน
6. โคกเหล็ก (Khok Lek) 11 หมู่บ้าน
7. เมืองโพธิ์ (Mueang Pho) 09 หมู่บ้าน
8. ห้วยราชา (Huai Racha) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอห้วยราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลห้วยราช ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยราช และตำบลห้วยราชาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเหล็กทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสามแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยราช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยราช)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเสาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตะโกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ทั้งตำบล

การขนส่ง

อำเภอห้วยราชมีจุดจอดรถไฟทั้งหมด 1 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟห้วยราช ซึ่งเป็นสถานีประจำอำเภอและมีขบวนรถไฟหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารทั้งหมด 16 ขบวน/วัน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1353. February 13, 1990.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 16–19. April 3, 1939.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (56 ง): 1405–1406. June 19, 1962.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (192 ง): 4347–4369. November 20, 1979.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3920–3925. October 23, 1984.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (234 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-57. December 27, 1988.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองกี่ และกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (161 ง): (ฉบับพิเศษ) 50-63. September 13, 1991.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 6-10. February 7, 1992.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-64. February 7, 1992.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-70. February 7, 1992.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-113. February 7, 1992.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 118-122. February 7, 1992.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก และกิ่งอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 111–133. November 14, 1995.
  15. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999.
  16. "พระราชกฤษฎีกายุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (87 ก): 1–3. September 17, 2003.