เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23
เรสเซิลเมเนีย ครั้งที 23 (อังกฤษ: WrestleMania 23) จัดในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 ณ ดีทรอยท์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนผู้เข้าชมในสนามทั้งสิ้น 80,103 คน โดยเป็นศึกที่รวมการแสดงนักมวยปล้ำแต่ละค่ายของ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (ดับเบิลยูดับเบิลยูอี) เอาไว้ทั้งหมด โดยก่อนเริ่มศึกได้มีการร้องเพลง America the Beautiful ก่อนที่จะเริ่มต้นรายการอีกด้วย
เรสเซิลเมเนีย 23 | |||
---|---|---|---|
โปสเตอร์โปรโมดโดยมีเหล่านักมวยปล้ำ WWE และDonald Trump | |||
สมาคม | เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ | ||
ค่าย | รอว์ สแมคดาวน์! อีซีดับเบิลยู | ||
วันที่ | 1 เมษายน 2007 | ||
เมือง | ดีทรอยท์, มิชิแกน | ||
สถานที่ | ฟอร์ด ฟิลด์ | ||
ผู้ชม | 80,103 คน[1][2][3][4] | ||
แท็กไลน์ | All Grown Up | ||
ลำดับเหตุการณ์ Pay-per-view | |||
| |||
ลำดับเหตุการณ์เรสเซิลเมเนีย | |||
|
โดยตั๋วได้ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 เรสเซิลเมเนีย ครั้งที 23 ทำรายได้ไปถึง 5.38 ล้านในการจำหน่ายตั๋ว ซึ่งทำลายสถิติก่อนหน้านี้อยู่ที่ 3.9 ล้านที่จัดขึ้นในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18[7][8] ต่อมาตั้งแต่ปี 2013 ได้กลายเป็นศึกที่มีผู้เข้าชมในสนามมากที่สุดอันดับที่สองในประวัติศาสตร์เรซเซิลมาเนีย ซึ่งถูกทำลายสถิติด้วยผู้เข้าชมในสนาม 80,676 คน ในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29[9]
เบื้องหลัง
แก้ชอว์น ไมเคิลส์ ได้ร่วมลงแข่งในศึก รอยัลรัมเบิล (2007) โดยออกมาเป็นคนที่ 23 และได้เป็น 2 คนสุดท้ายที่จะชิงว่าใครจะได้เป็นผู้ท้าชิงแชมป์ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 โดยคู่ต่อสู้อีกคน คือ ดิอันเดอร์เทเกอร์ แต่ชอว์นก็ไม่สามารถเอาชนะอันเดอร์เทเกอร์ได้ จึงต้องเสียสิทธิ์ในการท้าชิงแชมป์ครั้งนั้นไป โดยชอว์นได้เป็นรองชนะเลิศรอยัลรัมเบิล และคาดว่าตนเองเป็นรองชนะเลิศน่าจะมีสิทธิ์ในการท้าชิงแชมป์ WWE เพราะ อันเดอร์เทเกอร์ไปเลือกชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในตอนนั้นแชมป์ WWE ก็คือ จอห์น ซีนา และซีนาก็รับคำท้าและเจอกับชอว์น ในศึก เรสเซิลเมเนีย สุดท้ายชอว์นก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ WWE มาครอบครองได้ เพราะถูกซีนาใช้ท่า STFU (หรือ STF ในปัจจุบัน) จนทำให้ชอว์นตบพื้นยอมแพ้ไป
ในศึกรอว์ (8 มกราคม ค.ศ. 2007) ดอนัลด์ ทรัมป์ เผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้แท้จริงของเขา Rosie O'Donnell ทรัมป์ ได้ชนะในการแข่งขัน ในระหว่างที่ช่วง "Fan Appreciation Night" ของ วินซ์ แม็กแมน ในศึกรอว์ (29 มกราคม ค.ศ. 2007)[10] ทรัมป์ ได้มาขัดจังหวะแล้วโปรยเงินเป็นจำนวนมากในสนาม เดือนต่อมาทั้งสองก็มาเจอพร้อมกับแมทช์การปล้ำในเรสเซิลเมเนีย ที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับแมทช์การปล้ำว่าพวกเขาแต่ละคนจะต้องเลือกตัวแทนนักมวยปล้ำสำหรับพวกเขาและถ้าตัวแทนนักมวยปล้ำของใครแพ้คนนั้นจะต้องโดนโกนผม โดยใช้ชื่อแมทช์การปล้ำว่า Battle Of The Billionaires (แมทช์การปล้ำเดิมพันของมหาเศรษฐี ใครแพ้โดนโกนหัว)[11] ในศึกเรซเซิลมาเนีย ครั้งที 23 โดยวินซ์ แม็กแมน ได้เลือกอูมาก้า เป็นตัวแทนในการปล้ำ[12] และดอนัลด์ ทรัมป์ ได้เลือกบ็อบบี แลชลีย์ เป็นตัวแทนในการปล้ำ หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จในการป้องกันแชมป์โลก ECW มากับฮาร์ดคอร์ ฮอลลี ในแมทช์การปล้ำในกรงเหล็ก ในรายการECW on Sci Fi[13] ในศึกรอว์ (5 มีนาคม ค.ศ. 2007) สโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน ได้ออกมาประกาศว่า จะเป็นกรรมการพิเศษในแมทช์การปล้ำนี้[14] ในศึกรอว์ (26 มีนาคม ค.ศ. 2007) วินซ์ แม็กแมน ได้เผชิญหน้ากับบ็อบบี แลชลีย์ ในแมทช์การปล้ำไม่มีกฎกติกา ในแมทช์การปล้ำได้มีคนมาช่วยแม็กแมนมากๆ อันได้แก่ แลนซ์ เคด และเทรเวอร์ เมอร์ด็อก ,คริส มาสเตอส์ ,จอห์นนี ไนโตร และอูมาก้า สุดท้ายแม็กแมนก็ได้ชนะในแมทช์ในแมทช์นี้ไป[15]
ดิอันเดอร์เทเกอร์ ได้ชนะแมทช์การปล้ำรอยัลรัมเบิลปี 2007 ในการเลือกชืงแชมป์โลก 3 เส้น (แชมป์โลก WWE ,แชมป์โลกเฮฟวี่เวท และแชมป์โลก ECW) หลังจากนั้นเขาได้เลือกเจอกับ บาทิสตา ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในศึกเรสเซิลเมเนีย
โปรดักชั่น
แก้ฉากของเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 ในครั้งนี้ได้เริ่มพัฒนาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 หลังจากที่นักออกแบบฉากของ WWE เจสัน โรบินสัน ได้รับโลโก้สุดท้ายแรกสำหรับการแข่งขัน[16] โรบินสัน และทีมงานของเขาได้สำรวจครั้งแรกในสนาม Ford Field เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 และได้เริ่มออกแบบฉากและแสงสี หลังจากกลับไปที่สนามกีฬาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 สำหรับการสำรวจไซต์อื่น ๆ อีกมากมาย โรบินสัน และทีมงานของเขาได้ข้อสรุปการออกแบบฉากในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007[16] การออกแบบขั้นสุดท้ายมีผลต่อเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 ที่มีฉากที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างสำหรับการแข่งขันเรสเซิลเมเนีย[17] โดยบริษัทจอภาพ 414 LED และระบบแสงไฟอัจฉริยะ ,10 สปอร์ตไลท์ ,56 ไฟฉาย ,50,000 ฟุตของสายเคเบิลสำหรับดอกไม้ไฟและการใช้งานอื่น ๆ และ 35 ปืนพุไฟบนฉากที่ใช้ในการผลิตระดับสูง 30 ฟุต และเปลวไฟกว้าง 6 ฟุต ทั้งหมดซึ่งทำให้เป็นฉากที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละทางเปิดตัวและองค์ประกอบเวทีแสงที่ขยายกว้าง 300 ฟุต ความสูง 100 ฟุตโดยใช้เครื่องมือบนเวทีแสงเฉพาะ[17][18] ทางลาดที่ใช้ในการเข้าถึงเวทีมวยปล้ำจากฉากความยาวเป็น 187 ฟุต[19]
แม้ว่าจะใช้เวลาสามสัปดาห์ในการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ฟอร์ดฟิลด์การประกอบตั้งเริ่มต้นเมื่อสัปดาห์ก่อนเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ทีมงานนับสามร้อย ,การขนถ่าย และการทำงานจากสี่สิบครึ่งรถบรรทุก เพื่อสร้างฉากและประกอบแสงไฟที่อยู่ในฟอร์ดฟิลด์ มากเกินกว่าปกติสี่สิบชั่วโมงหนึ่งร้อยพนักงาน และรถบรรทุกสิบสี่กึ่งที่จำเป็นสำหรับการผลิตของรายการโทรทัศน์ประจำสัปดาห์ของ WWE หลังจากที่ได้ข้อสรุปในการใช้เวลาประมาณสามสิบชั่วโมงที่ถอดฉากและแสงยังไกลมากขึ้นกว่าปกติสามชั่วโมงที่จำเป็นสำหรับการจัดรายการโทรทัศน์ประจำสัปดาห์ของ WWE
ผลการปล้ำ
แก้# | แมทช์การปล้ำ | กำหนดการปล้ำ | เวลา |
---|---|---|---|
ก่อนรายการ | ริก แฟลร์ และคาร์ลีโต ชนะ เกรกอรี เฮมส์ และชาโว เกอร์เรโร | แมทช์การปล้ำแทกทีมลัมเบอร์แจ็ค[Note 1] | 05:13 |
1 | มิสเตอร์เคนเนดี ชนะ เอดจ์, ซีเอ็ม พังก์, คิงบูเกอร์ (พร้อมด้วย Queen Sharmell), เจฟฟ์ ฮาร์ดี, แมทท์ ฮาร์ดี, ฟินเลย์ และแรนดี ออร์ตัน | แมทช์การปล้ำชิงกระเป๋ามันนี่อินเดอะแบงก์ | 19:05 |
2 | เดอะ เกรท คาลี ชนะ เคน | แมทช์การปล้ำเดี่ยว | 05:31 |
3 | คริส เบนวา (c) ชนะ มอนเทล วอนเทเวียส พอร์เตอร์ | แมทช์การปล้ำเดี่ยว เพื่อชิงแชมป์ WWE United States Championship | 09:19 |
4 | ดิอันเดอร์เทเกอร์ ชนะ บาทิสตา (c) | แมทช์การปล้ำเดี่ยว เพื่อชิงแชมป์ World Heavyweight Championship | 15:47 |
5 | The ECW Originals (Tommy Dreamer, Sabu, The Sandman และ Rob Van Dam) ชนะ The New Breed (Elijah Burke, Marcus Cor Von, Matt Striker และ Kevin Thorn) (พร้อมด้วย Ariel) | แมทช์การปล้ำแทกทีม 8 คน | 06:25 |
6 | บ็อบบี แลชลีย์ (พร้อมด้วย ดอนัลด์ ทรัมป์) ชนะ อูมาก้า (พร้อมด้วย วินซ์ แม็กแมน และ อาร์แมนโด อัลเลแจนโดร เอสตราดา) | แมทช์การปล้ำเดิมพันของมหาเศรษฐี ตัวแทนนักมวยปล้ำของใครแพ้คนนั้นจะต้องโดนโกนผม โดยมี สโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน เป็นกรรมการพิเศษ | 13:04 |
7 | เมลิน่า (c) ชนะ แอชลีย์ | แมทช์การปล้ำลัมเบอร์จิลล์ส เพื่อชิงแชมป์ WWE Women's Championship [Note 2] | 03:13 |
8 | จอห์น ซีนา (c) ชนะ ชอว์น ไมเคิลส์ โดยการทำซับมิสชั่น | แมทช์การปล้ำเดี่ยว เพื่อชิงแชมป์ WWE Championship | 28:20 |
(c) - หมายถึงเจ้าของเข็มขัดแชมป์ก่อนเริ่มแข่ง
|
- ↑ ลัมเบอร์แจ็คมี Viscera, Shad Gaspard, JTG, Chris Masters, Shelton Benjamin, Charlie Haas, Robbie McAllister, Rory McAllister, Super Crazy, Val Venis, Johnny Nitro, Jim Duggan, Eugene, Lance Cade, Trevor Murdoch and Kenny Dykstra from Raw; Daivari, Shannon Moore, Sylvain Grenier, Deuce, Domino, Paul London, Brian Kendrick, The Miz, Vito, Scotty 2 Hotty, William Regal, Dave Taylor, Jimmy Wang Yang, Jamie Noble and Funaki from SmackDown; and Balls Mahoney, Little Guido Maritato, Hardcore Holly and Snitsky from ECW.
- ↑ ลัมเบอร์จิลล์สมี Mickie James, Layla, Jillian Hall, Candice Michelle, Kelly Kelly, Trinity, Torrie Wilson, Brooke Adams, Kristal Marshall, Michelle McCool, Maria และ Victoria.
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Schiesel, Seth (2007-04-04). "Flashy Wrestling Shows Grab the World by the Neck and Flex". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-12-28.
- ↑ Graham, Adam (2007-04-02). "Motown mad for WrestleMania". The Detroit News. สืบค้นเมื่อ 2009-12-28.
- ↑ "Trump wins 'hair match' at WrestleMania". NBC Sports Associated Press. 2007-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-28.
- ↑ Gaudiosi, John (2007-04-23). "Stone Cold Steve Austin Goes Hollywood". ESPN.com. สืบค้นเมื่อ 2009-12-28.
- ↑ Kara A. Medalis and Louie Dee (2007-01-17). "Saliva returns with WM23 theme song". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
- ↑ "Official WrestleMania 23 website". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
- ↑ "WrestleMania Blows Away Attendance Record At Ford Fields". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-18. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
- ↑ "WrestleMania X8 Sets Revenue, Attendance Records". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
- ↑ "Q2007Presentation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
- ↑ Starr, Noah (2007-01-29). "Has he made his decision?". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
- ↑ Hoffman, Brett (2007-02-15). "Billion Dollar Handshake". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
- ↑ Hoffman, Brett (2007-02-19). "Chairman's Choice". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
- ↑ Tello, Craig (2007-02-27). "To hell and back". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.
- ↑ Starr, Noah (2007-03-05). "A stunning revelation". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ Starr, Noah (2007-03-26). "The circle is complete". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
- ↑ 16.0 16.1 "Big stadium set lets designer push the limits". The Detroit News. 2007-03-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- ↑ 17.0 17.1 "WrestleMania gets bigger and brighter". WWE. 2007-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- ↑ "Vector Guides Bandit and WrestleMania 23 as they put on the Most Impressive Show to Date!". Compulite. 2007-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- ↑ "What's in an Entrance?". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official WrestleMania 23 website เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน