อิงกลิชฟุตบอลลีก
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
อิงกลิชฟุตบอลลีก (อังกฤษ: English Football League) เป็นลีกของสโมสรฟุตบอลอาชีพจากอังกฤษและเวลส์ ก่อตั้งในปี 1888 ในชื่อฟุตบอลลีก เป็นลีกฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 1992 เมื่อ 22 สโมสรชั้นนำแยกตัวออกมาก่อตั้งพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลลีกเปลี่ยนชื่อเป็น "อิงกลิชฟุตบอลลีก" ตั้งแต่ฤดูกาล 2016–17[1][2]
ก่อตั้ง | 17 เมษายน 1888 |
---|---|
ประเทศ | อังกฤษ |
สโมสรอื่นจาก | เวลส์ |
สมาพันธ์ | ยูฟ่า |
ดิวิชัน | อีเอฟแอลแชมเปียนชิป อีเอฟแอลลีกวัน อีเอฟแอลลีกทู |
จำนวนทีม | 72 ทีม (24 ทีมในแต่ละดิวิชัน) |
ระดับในพีระมิด | 2–4 |
เลื่อนชั้นสู่ | พรีเมียร์ลีก |
ตกชั้นสู่ | เนชันนัลลีก |
ถ้วยระดับประเทศ | เอฟเอคัพ, อีเอฟแอลคัพ อีเอฟแอลโทรฟี[NB1] |
ถ้วยระดับนานาชาติ | ยูฟ่ายูโรปาลีก[NB2] |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เบิร์นลีย์ (2022–23) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ลิเวอร์พูล (18 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | สกายสปอตส์ แชนเนล 5 (เฉพาะไฮไลต์) |
เว็บไซต์ | efl.com |
ปัจจุบัน: อิงกลิชฟุตบอลลีก ฤดูกาล 2023–24 |
อีเอฟแอลแบ่งออกเป็น อีเอฟแอลแชมเปียนชิป, อีเอฟแอลลีกวัน และ อีเอฟแอลลีกทู โดยมี 24 สโมสรในแต่ละดิวิชั่น รวม 72 สโมสรมีการเลื่อนชั้นและการตกชั้นระหว่างกัน แชมป์และรองแชมป์ลีกแชมเปียนชิปเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก โดยอัตโนมัติส่วนอันดับ 3-6 ต้องแข่งเพลย์ออฟเพื่อหาอีก 1 ทีมเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก สำหรับ 3 อันดับสุดท้ายในลีกทูต้องตกชั้นสู่ เนชันนัลลีก แม้ว่าโดยหลักแล้วจะเป็นการแข่งขันในอังกฤษ แต่ก็มีสโมสรเล็กๆ จากเวลส์จำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันคือคาร์ดิฟฟ์ซิตี สวอนซีซิตี เรกซัม และนิวพอร์ตเคาน์ตีก็เข้าร่วมด้วย
ฟุตบอลลีกมีผู้สนับสนุนครั้งแรกในฤดูกาล 1983-84 และเป็นที่รู้จักในชื่อต่าง ๆ สำหรับในฤดูกาล 2016-17 ฟุตบอลลีกได้ทำการรีแบรนด์ตัวเองเป็น อิงกลิชฟุตบอลลีก พร้อมกับได้ สกายเบท เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักจนถึงปัจจุบัน[3][4]
อิงกลิชฟุตบอลลีกยังจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน็อคเอาท์สองครั้ง ได้แก่ อีเอฟแอลคัพ หรือ คาราบาวคัพ และ อีเอฟแอลโทรฟี สำหรับศูนย์ปฏิบัติการของอิงกลิชฟุตบอลลีกอยู่ในเพรสตันและสำนักงานการค้าอยู่ในลอนดอน[5][6]
ภาพรวม
แก้ฟุตบอลลีกประกอบด้วยสโมสรฟุตบอลอาชีพ 69 สโมสรในอังกฤษและ 3 สโมสรในเวลส์ เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพที่เก่าแก่ทีสุดในโลก และยังจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน็อคเอาท์อีก 2 รายการ ได้แก่ อีเอฟแอลคัพ หรือ คาราบาวคัพ และ อีเอฟแอลโทรฟี ฟุตบอลลีกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1888 โดยวิลเลียม แม็คเกรเกอร์ผู้อำนวยการของแอสตัน วิลล่าในขณะนั้น ซึ่งเดิมมีสโมสรสมาชิก 12 สโมสร การเติบโตอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มดิวิชั่นมากขึ้นหมายความว่าในทศวรรษที่ 1950 ฟุตบอลลีกมีสโมสรสมาชิก 92 สโมสร ต่อมาเกิดความปั่นป่วนครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1992 เมื่อสโมสรฟุตบอลในลีกดิวิชั่น 1 ตัดสินใจแยกไปก่อตั้งลีกของตนเอง คือ เอฟเอพรีเมียร์ลีก ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นพรีเมียร์ลีกในปี ค.ศ. 2007[7] ฟุตบอลลีกจึงไม่รวม 20 สโมสรในพรีเมียร์ลีกอีกต่อไป ถึงแม้ว่าการเลื่อนชั้นและการตกชั้นระหว่างฟุตบอลลีกกับพรีเมียร์ลีกจะดำเนินต่อไป[8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Rebranded Football League changing its name to English Football League as EFL unveils new logo". The Daily Telegraph. London. 12 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
- ↑ "Sky Bet to sponsor the Football League". 18 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2013. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ "Rebranded Football League changing its name to English Football League as EFL unveils new logo". The Daily Telegraph. London. 12 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
- ↑ "Sky Bet to sponsor the Football League". 18 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-21. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ "Contact The Football League". English Football League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2017.
- ↑ Gillatt, Peter (30 November 2007). Blackpool FC On This Day: History, Facts and Figures from Every Day of the Year. Pitch Publishing Ltd. ISBN 978-1-905411-50-4.
- ↑ "Premier League and Barclays Announce Competition Name Change" (PDF). Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 22 November 2006.
- ↑ Tony Brown (27 February 2013). "125 Years of The Football League in numbers". The Football League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2014. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.