สุนีรัตน์ เตลาน
สุนีรัตน์ เตลาน (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย จากการลงสมัครรับเลือกตั้งใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดระนอง และจังหวัดร้อยเอ็ด และเธอยังเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแผ่นดินไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2519
สุนีรัตน์ เตลาน | |
---|---|
หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538[1][2] |
พรรคการเมือง | แผ่นดินไทย |
ประวัติ
แก้สุนีรัตน์ เตลาน เป็นพี่ ชยาภรณ์ ปิยะอุย พันโท วรพงษ์ ปิยะอุย นายสมพจน์ ปิยะอุย และท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย เป็นน้องสาว นางสุภา ยุธานหัส ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานี[3] เธอเป็นนักธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าที่ดินและเศรษฐินีผู้มั่งคั่ง เคยเป็นเจ้าของโรงแรมรามาทาวเวอร์[4]นางสุนีย์รัตน์ เตลาน สมรสกับ นายบุญคลี ศรีปลั่ง
นางสุนีย์รัตน์ เรียนที่โรงเรียนชินหมิน และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
สุนีรัตน์ เตลาน เป็นนักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 3 จังหวัด คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดนครสวรรค์ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดระนอง[5] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในครั้งนั้นได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการเลือกตั้งที่ใช้เงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลาย หรือที่รู้จักกันว่า โรคร้อยเอ็ด[6]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 นางสุนีรัตน์ ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "พรรคแผ่นดินไทย" และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค[7] นำทีมสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนได้รับเลือกตั้ง 2 ที่นั่ง คือ นางสุนีรัตน์ เตลาน และนายมานิต อุทธิเสน จากจังหวัดศรีสะเกษ
นางสุนีรัตน์ เป็นหนึ่งในแกนนำผู้ก่อตั้งสมาคมมิตรภาพไทย-ลาว และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกิตติมศักดิ์เป็นคนแรกของสมาคม[8]
นางสุนีรัตน์ มีบุตร 2 คน คนหนึ่งเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ คือ ธเนศ เตลาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 15 สมรสกับ นางสาว นุชนารถ อมาตยกุล นาย ตรีทิพย์ เตลาน ประธานกรรมการ บริษัท เฮสโกฟู้ด สมรส กับ นางสาว วารุณี แสงศิรินาวิน นางสาวไทย พ.ศ. 2512
ในพิธีสวดพระอภิธรรม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ พจมาน ดามาพงศ์ ได้เดินทางมาร่วมงาน
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2538 ณ เมรุวัดธาตุทอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ
- ↑ อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ งานพระราชทานเพลิงศพ นางสุนีรัตน์ เตลาน
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmg
- ↑ ประวัติศาสตร์การโรงแรมของเมืองไทย
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ โรคร้อยเอ็ด
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง (39 พรรค)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ "ประวัติสมาคมไทย - ลาวเพื่อมิตรภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙