รัฐเกแบ็ก
เกแบ็ก[9] (ฝรั่งเศส: Québec) หรือ ควิเบก[9] (อังกฤษ: Quebec) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดาอยู่ทางตะวันออกของประเทศ และเป็นรัฐเดียวที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในระดับรัฐ แต่ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทน รัฐเกแบ็กมีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือนครเกแบ็ก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมอนทรีออล
เกแบ็ก Québec (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
คำขวัญ: | |
พิกัด: 52°N 72°W / 52°N 72°W | |
ประเทศ | แคนาดา |
เข้าร่วมสมาพันธ์ | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 (1 ร่วมกับรัฐออนแทรีโอ, โนวาสโกเชีย และนิวบรันสวิก) |
เมืองหลวง | นครเกแบ็ก |
เมืองใหญ่สุด | มอนทรีออล |
เขตมหานครใหญ่สุด | เกรเทอร์มอนทรีออล |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• องค์กร | รัฐบาลเกแบ็ก |
• Lieutenant Governor | J. Michel Doyon |
• นายกเทศมนตรี | François Legault (CAQ) |
Legislature | National Assembly of Quebec |
Federal representation | Parliament of Canada |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | 78 จาก 338 (23.1%) |
สมาชิกวุฒิสภา | 24 จาก 105 (22.9%) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,542,056 ตร.กม. (595,391 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 1,365,128 ตร.กม. (527,079 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 176,928 ตร.กม. (68,312 ตร.ไมล์) 11.5% |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 2 |
ร้อยละ 15.4 ของแคนาดา | |
ประชากร (2016) | |
• ทั้งหมด | 8,164,361 [1] คน |
• ประมาณ (ไตรมาสที่ 4 ค.ศ. 2020) | 8,575,779 [2] คน |
• อันดับ | อันดับที่ 2 |
• ความหนาแน่น | 5.98 คน/ตร.กม. (15.5 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | อังกฤษ: รัฐเกแบ็กเกอร์ ฝรั่งเศส: Québécois (ช)[3] Québécoise (ญ)[3] |
ภาษาราชการ | ฝรั่งเศส[4] |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ | |
• อันดับ | 2 |
• ทั้งหมด (2015) | C$380.972 พันล้าน[5] |
• ต่อหัว | C$46,126 (อันดับที่ 10) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2018) | 0.908[6] — สูงมาก (อันดับที่ 5) |
เขตเวลา | |
ส่วนใหญ่ของรัฐ | UTC-05:00 (เขตเวลาตะวันออก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC-04:00 |
Magdalen Islands and Listuguj Mi'gmaq First Nation | UTC-04:00 (เขตเวลาแอตแลนติก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC-03:00 |
รหัสไปรษณีย์ | QC[7] |
คำนำหน้ารหัสไปรษณีย์ | G, H, J |
รหัส ISO 3166 | CA-QC |
ดอกไม้ | บลูแฟล็กไอริส[8] |
ต้นไม้ | ต้นเบอร์ชเหลือง[8] |
นก | นกเค้าแมวหิมะ[8] |
* อันดับนับรวมทั้งรัฐและดินแดน |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์
แก้รัฐเกแบ็กมีพื้นที่ 1,542,056 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทยถึงสามเท่า (513,120 ตารางกิโลเมตร) หรือใหญ่กว่าประเทศญี่ปุ่นสี่เท่าตัว (377,944 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ที่ละติจูด 17–22 องศาเหนือ
- ทางเหนือ ติดกับช่องแคบฮัดสันและอ่าวอังกาวา
- ทางใต้ ติดกับประเทศสหรัฐอเมริกา
- ทางตะวันออก ติดกับรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์และรัฐนิวบรันสวิก
- ทางตะวันตก ติดกับรัฐออนแทรีโอและอ่าวฮัดสัน
เมืองหลวงของรัฐเกแบ็กคือ นครเกแบ็ก ซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับสองของรัฐ
เมืองที่มีความสำคัญของรัฐคือ เมืองมอนทรีออล (Montreal) ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจและมีประชากรมากที่สุดของรัฐและยังเป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญเป็นอันดับสามของแคนาดารองจากโทรอนโตและแวนคูเวอร์
ความหนาแน่นของประชากรเบาบางมากมีประชากรห้าคนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ทางตอนเหนือของเกแบ็กมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมาก
ร้อยละ 8 จะอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ (St. Lawrence) มีประชากรอาศัยอยู่ 7,669,100 คน
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
แก้ดินแดนนี้ค้นพบและสร้างเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสใหม่โดยฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่ค้นพบดินแดนแคนาดา แต่ภายหลังได้มีปัญหากับอังกฤษ ดินแดนนี้จึงถูกโอนไปเป็นของอังกฤษ และเมื่ออังกฤษให้เอกราชจึงถูกรวมไปกับประเทศแคนาดาโดยปริยาย
ชาวเกแบ็กซึ่งเรียกตัวเองว่า Québécois (อ่าน เกเบกัว, ภาษาอังกฤษเรียก Quebecer อ่าน ควิเบเกอร์) รักชาติกำเนิดของตัวเองมากและค่อนข้างเป็นชาตินิยม เห็นได้จากประโยคหนึ่งบนป้ายทะเบียนรถยนต์ทุกคันของรัฐนี้ คือ Je me souviens (= ฉันยังจำได้)
ประชากรร้อยละ 83 ใช้ภาษาฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกแบ็กเป็นดินแดนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดของอเมริกาเหนือ และประกาศให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ (ส่วนภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของประเทศแคนาดา)
นอกจากภาษาฝรั่งเศสแล้วยังมีการใช้ภาษาอื่นอยู่บ้างแต่ค่อนข้างน้อยมาก อย่างเช่นภาษาอังกฤษประมาณร้อยละ 8 ของประชากรเกแบ็ก
ชาวเกแบ็กยังคงใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่และยังบังคับใช้กฎหมายให้ห้างร้านหน่วยงานของรัฐใช้เป็นภาษาหลัก ด้วยเหตุนี้ภาษาทางการของแคนาดาจึงมีสองภาษาดังที่กล่าวข้างต้น
ด้านศิลปวัฒนธรรมของที่นี่จะเป็นแบบฝรั่งเศส แต่ชาวเกแบ็กส่วนใหญ่มักดำเนินชีวิตแบบผสมผสาน ทั้งในแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ เช่น เวลาอาหารเย็นของชาวเกแบ็กจะเป็นแบบอังกฤษ คือจะเริ่มรับประทานตั้งแต่ประมาณ 6 โมงเย็นเป็นต้นไป แต่ก็นิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา ชาวเกแบ็กบางส่วน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ยังนิยมรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันด้วย
อย่างไรก็ดี ด้วยความเป็นชาตินิยมของชาวเกแบ็ก ได้มีการเรียกร้องขอเอกราชเพื่อแยกประเทศออกจากแคนาดาอยู่หลายครั้งแต่ก็ต้องล้มเหลวเนื่องมาจากผลการลงประชามติ กล่าวกันว่า ด้วยเหตุที่เกแบ็กเป็นรัฐที่ร่ำรวยมากของแคนาดาและมีเมืองมอนทรีออลซึ่งเป็นเมืองการค้าสำคัญที่กุมเศรษฐกิจในอเมริกาเหนือไว้ส่วนหนึ่ง หน่วยงานบางหน่วยของรัฐบาลกลางแคนาดาจึงใช้เงินในการจ้างและปล่อยโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้อพยพต่างชาติที่พำนักในเกแบ็กให้โหวตว่าไม่ขอแยกจากประเทศแคนาดา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Population and dwelling counts, for Canada, provinces and territories, 2016 and 2011 censuses". Statistics Canada. February 8, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2017. สืบค้นเมื่อ February 12, 2017.
- ↑ "Population by year of Canada of Canada and territories". Statistics Canada. September 26, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2016. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ 3.0 3.1 The term Québécois (feminine: Québécoise), which is usually reserved for francophone Quebecers, may be rendered in English without both e-acute (é): Quebecois (fem.: Quebecoise). (Oxford Guide to Canadian English Usage; ISBN 0-19-541619-8; p. 335)
- ↑ Office Québécois de la langue francaise. "Status of the French language". Government of Quebec. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2011. สืบค้นเมื่อ November 10, 2010.
- ↑ "Gross domestic product, expenditure-based, by province and territory (2015)". Statistics Canada. November 9, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Canada Post (January 17, 2011). "Addressing Guidelines". Canada Post Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2008. สืบค้นเมื่อ July 12, 2011.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Québec's Symbols - Le Québec à grands traits - Secrétariat du Québec aux relations canadiennes". www.sqrc.gouv.qc.ca (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 9.0 9.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.