พ.ศ. 2557
ปี
พุทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักราช
- ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช 1376 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- พุทธศักราช 2557 นับเป็นปีที่ 557 แห่งพุทธสหัสวรรษที่ 3 หรือปีที่ 57 แห่งพุทธศตวรรษที่ 26 หรือปีที่ 8 แห่งพุทธทศวรรษที่ 255
- สหประชาชาติกำหนดให้ปีนี้เป็นปีสากลในด้านต่อไปนี้:
- ปีสากลแห่งความเป็นหนึ่งเดียวร่วมกับชาวปาเลสไตน์ (International Year of Solidarity with the Palestinian People)[1][2]
- ปีสากลแห่งรัฐเกาะขนาดเล็กที่กำลังพัฒนา (International Year of Small Island Developing States)[1]
- ปีสากลแห่งเกษตรกรรมโดยครอบครัว (International Year of Family Farming)[1]
- ปีสากลแห่งผลิกศาสตร์ (International Year of Crystallography)[1]
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2557 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2014 MMXIV |
Ab urbe condita | 2767 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1463 ԹՎ ՌՆԿԳ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6764 |
ปฏิทินบาไฮ | 170–171 |
ปฏิทินเบงกอล | 1421 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2964 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 62 Eliz. 2 – 63 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2558 |
ปฏิทินพม่า | 1376 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7522–7523 |
ปฏิทินจีน | 癸巳年 (มะเส็งธาตุน้ำ) 4710 หรือ 4650 — ถึง — 甲午年 (มะเมียธาตุไม้) 4711 หรือ 4651 |
ปฏิทินคอปติก | 1730–1731 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3180 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2006–2007 |
ปฏิทินฮีบรู | 5774–5775 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2070–2071 |
- ศกสมวัต | 1936–1937 |
- กลียุค | 5115–5116 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12014 |
ปฏิทินอิกโบ | 1014–1015 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1392–1393 |
ปฏิทินอิสลาม | 1435–1436 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 26 (平成26年) |
ปฏิทินจูเช | 103 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4347 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 103 民國103年 |
เวลายูนิกซ์ | 1388534400–1420070399 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี:
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
- นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รักษาราชการแทน, 7 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566; รักษาราชการแทน: 22 พฤษภาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม
- ประเทศลัตเวียเปลี่ยนสกุลเงินจากสกุลลัตส์ (lats) เป็นยูโรอย่างเป็นทางการ ทำให้เป็นประเทศสมาชิกยูโรโซนลำดับที่ 18 [3]
กุมภาพันธ์
แก้- กุมภาพันธ์ – เกิดการระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 นับเป็นการระบาดของโรคไวรัสอีโบลาครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรก
- 13 กุมภาพันธ์ – เบลเยียมเป็นประเทศแรกของโลกที่กฎหมายอนุญาตให้การุณยฆาตได้โดยไม่จำกัดอายุ[4]
- 22 กุมภาพันธ์ – รัฐสภายูเครนลงมติถอดถอนประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งโอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟดำรงตำแหน่งแทน หลังการก่อความไม่สงบหลายวันซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนในเคียฟ[5]
มีนาคม
แก้- 8 มีนาคม – มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 ซึ่งมีผู้โดยสาร 239 คน หายสาบสูญเหนืออ่าวไทย ระหว่างทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปปักกิ่ง มีการสันนิษฐานว่าเครื่องบินลำนี้จะตกในมหาสมุทรอินเดีย[6]
- 16 มีนาคม – การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย[7]
- 21 มีนาคม
- ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้จัดเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[8]
- รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนอย่างเป็นทางการ
- 24 มีนาคม – ในระหว่างการประชุมฉุกเฉิน สหราชอาณาจักร สหรัฐ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และแคนาดา ได้คัดรัสเซียออกจาก G8
เมษายน
แก้- 16 เมษายน – เรือข้ามฟากเซวอล สัญชาติเกาหลีใต้ อับปางลงระหว่างออกเดินทางไปเกาะเชจู มีผู้เสียชีวิต 295 ราย[9] ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
พฤษภาคม
แก้- 16 พฤษภาคม – เกิดสงครามกลางเมืองในลิเบียครั้งที่สอง
- 22 พฤษภาคม – เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลา 16:30 น. และเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศนานหลายเดือน[10]
มิถุนายน
แก้- 13 มิถุนายน–13 กรกฎาคม – การแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2014 ณ ประเทศบราซิล ทีมชนะเลิศคือเยอรมนี ส่วนทีมรองชนะเลิศคืออาร์เจนตินา
- 19 มิถุนายน – สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ทรงสละราชบัลลังก์ แล้วสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนขึ้นครองราชย์แทน
กรกฎาคม
แก้- 8 กรกฎาคม–26 สิงหาคม – ปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์โดยกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เริ่มขึ้นรอบเขตฉนวนกาซา เป็นการโจมตีด้วยขีปนาวุธนานาชนิด ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮะมาสอย่างต่อเนื่อง
- 17 กรกฎาคม – มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ซึ่งเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ ไปกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถูกขีปนาวุธยิงตกในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน ใกล้กับพรมแดนประเทศรัสเซีย ทำให้ผู้โดยสารรวมทั้งลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 298 ราย
- 24 กรกฎาคม – แอร์แอลจีเรีย เที่ยวบินที่ 5017 ตกในประเทศมาลี ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 116 ราย
สิงหาคม
แก้- 7 สิงหาคม – ศาลเขมรแดงวินิจฉัยว่า นวน เจียและเขียว สัมพัน ผู้นำเขมรแดง มีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และตัดสินจำคุกตลอดชีวิต[11]
- 8 สิงหาคม – กองทัพสหรัฐเริ่มการทัพทางอากาศในภาคเหนือของอิรักเพื่อหยุดการไหลบ่าของนักรบรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์
กันยายน
แก้- 18 กันยายน – มีการจัดการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ ผลปรากฏว่า ฝ่ายข้างมาก 55% ลงมติ "ไม่" ต่อเอกราช และมีเพียงสี่สภาที่ประกาศเอกราช[12]
ตุลาคม
แก้- 10 ตุลาคม - ช่อง 3 อนาล็อก เรี่มออกอากาศคู่ขนานกับ ช่อง 3 HD เวลา 20:15 น. โดยมีรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เป็นรายการแรก
พฤศจิกายน
แก้- 13 พฤศจิกายน – ยานฟิเลของยานสำรวจอวกาศโรเซตตาลงจอดบนดาวหาง 67พีสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ยานอวกาศลงจอดบนดาวหาง
ธันวาคม
แก้- 17 ธันวาคม – ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ประกาศคืนสภาพความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับคิวบา[13]
- 28 ธันวาคม – อินโดนีเซียแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 8501 สาบสูญในการบินจากซูราบายา ประเทศอินโดนีเซียไปประเทศสิงคโปร์ มี 162 คนบนเครื่อง[14]
วันเกิด
แก้- 20 กุมภาพันธ์ – เจ้าหญิงเลโอนอร์ ดัชเชสแห่งกอตลันด์
- 11 เมษายน - รุ่งรดิศ รุ่งลิขิตเจริญ นักแสดงเด็กชายชาวไทย
- 16 พฤษภาคม - ณัฐชา พาโดวัน นักแสดงเด็กหญิงลูกครึ่งไทย-อังกฤษ
- 10 ธันวาคม –
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 5 มกราคม – ยูเซบิโอ นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2485)
- 7 มกราคม
- รัน รัน ชอว์ นักสร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกง (เกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450)
- 11 มกราคม – อาเรียล ชารอน นายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล (เกิด 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471)
- 14 มกราคม – เมย์ ยัง นักมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2466)
- 16 มกราคม
- ฮิโร โอะโนะดะ ทหารชาวญี่ปุ่น (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2465)
- โฮเซ่ สุไลมาน นักมวยชาวเม็กซิโก (เกิด 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2474)
- 27 มกราคม – พีต ซีเกอร์ นักร้อง นักแต่งเพลงและนักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2462)
- 31 มกราคม – อับดิริซัค ฮาจี ฮุสเซน นักการเมืองชาวโซมาเลีย (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ – ลุยส์ อาราโกเนส ผู้จัดการทีมฟุตบอลและนักฟุตบอลชาวสเปน (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481)
- 2 กุมภาพันธ์ – ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510)
- 4 กุมภาพันธ์ – อู๋ หม่า นักแสดงชาวฮ่องกง (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2485)
มีนาคม
แก้- อาเลมาเยฮู อะตอมซา นักการเมืองชาวเอธิโอเปีย (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512)
- 31 มีนาคม – แฟรงกี นักเคิลส์ ผู้จัดรายการและบันทึกการผลิตชาวอเมริกัน (เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2498)
เมษายน
แก้- 8 เมษายน – ดิ อัลติเมท วอร์ริเออร์ นักมวยปล้ำอาชีพ (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2502)
- 17 เมษายน – กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักประพันธ์ชาวโคลอมเบีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2470)
- 24 เมษายน – ฮันส์ ฮอลไลน์ นักออกแบบชาวออสเตรีย (เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2477)
- 25 เมษายน – ตีโต บีลานอบา ผู้จัดการทีมฟุตบอล (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2511)
- 26 เมษายน – อะกิโอะ มะกิ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2479)
พฤษภาคม
แก้- 12 พฤษภาคม – เอช อาร์ กีเกอร์ นักวาดภาพชาวสวิส (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
- 28 พฤษภาคม – สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์ กษัตริย์ประเทศมาเลเซีย (พระราชสมภพ 19 เมษายน พ.ศ. 2471)
มิถุนายน
แก้- 8 มิถุนายน – เจ้าชายโยชิฮิโตะ เจ้าชายคัตสึระ (ประสูติ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
- 12 มิถุนายน – กาเบรียล เบอร์นัล แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2499)
- 15 มิถุนายน
- ดาเนียล คีย์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470)
- 28 มิถุนายน – อง คาวาระ ศิลปินชาวญี่ปุ่น (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2476)
กรกฎาคม
แก้- 7 กรกฎาคม
- อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน นักฟุตบอลและโค้ชชาวอาร์เจนติน่า-สเปน (เกิด 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2469)
- 19 กรกฎาคม – เดวิด อิสตัน นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2460)
- 28 กรกฎาคม – ธีโอดอร์ แวน เคิร์ก ทหารชาวอเมริกัน (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2464)
สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม – โยะชิกิ ซะไซ นายแพทย์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 5 มีนาคม พ.ศ. 2505)
- 11 สิงหาคม – โรบิน วิลเลียมส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)
- 12 สิงหาคม – ลอเรน เบคอลล์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2467)
กันยายน
แก้- 3 กันยายน
- โก อึน-บี นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
- 7 กันยายน
- คว็อน รี-เซ นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
- โยะชิโกะ ยะมะงุชิ นักแสดงและนักร้องชาวญี่ปุ่น (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
พฤศจิกายน
แก้- 30 พฤศจิกายน – อู๋ ชิงหยวน นักหมากล้อมชาวญี่ปุ่น (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2457)
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม – สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
- 8 ธันวาคม – จูเซปเป แมงโก้ นักร้อง-นักแต่งเพลง และนักดนตรีชาวอิตาลี (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497)
- 22 ธันวาคม – โจ ค็อกเกอร์ นักร้อง นักดนตรี ชาวอังกฤษ (เกิด 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2487)
รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – เอริค เบตซิก, สเตฟาน ดับเบิลยู. เฮลล์ และ วิลเลียม อี. มัวร์เนอร์[15]
- สาขาวรรณกรรม – ปาทริค โมดิยาโน[16]
- สาขาสันติภาพ – ไกรลาส สัตยาธิ และ มะลาละห์ ยูซัฟซัย[17]
- สาขาฟิสิกส์ – อิซามุ อาคาซากิ, ฮิโรชิ อามาโนะ และ ชูจิ นากามูระ[18]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – จอห์น โอคีฟ, เมย์-บริตต์ โมเซอร์ และ เอ็ดวาร์ด โมเซอร์[19]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – ฌ็อง ติโรล[20]
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้- 31 มกราคม – วันตรุษจีน
- 14 กุมภาพันธ์ – วันมาฆบูชา
- 13–15 เมษายน – สงกรานต์
- 20 เมษายน – วันอีสเตอร์
- 13 พฤษภาคม – วันวิสาขบูชา
- 21 มิถุนายน – ครีษมายัน
- 11–12 กรกฎาคม – วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
- 21 ธันวาคม – เหมายัน
- 25 ธันวาคม – วันคริสต์มาส (คริสต์ตะวันตก)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- แปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็ก (พ.ศ. 2556) – เมืองกาโบซานลูกัส ในเม็กซิโก เป็นเป้าของการจู่โจมไคจูใน พ.ศ. 2557
- วินาทียึดโลก (พ.ศ. 2556) – เหตุการณ์ในภาพยนตร์เกิดขึ้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557
- แค่...ได้คิดถึง (คงเดช จาตุรันต์รัศมี, พ.ศ. 2558) – ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันกับเหตุการณ์การทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกิดขึ้นในปีนี้
ละคร การ์ตูน ซีรีส์
แก้- อีวานเกเลียน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539)
วิดีโอเกม
แก้- แบตเทิลฟิลด์ 3 (พ.ศ. 2554)
- คอลออฟดิวตี: แบล็กออฟส์ 2 (พ.ศ. 2555) ปฏิปักษ์ของเกม ราอูล เมเนนเดซ เริ่มโครงการโฆษณาชวนเชื่อ ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- บียอนด์:ทู โซลส์ (พ.ศ. 2556)
อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "United Nations Observances: International Years". United Nations. 6 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2015. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015.
- ↑ "International Year of Solidarity with the Palestinian People 2014". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2014. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "Latvia becomes 18th state to join the eurozone". BBC News. January 1, 2014. สืบค้นเมื่อ January 31, 2014.
- ↑ "Belgium's parliament votes through child euthanasia". BBC News. February 13, 2014. สืบค้นเมื่อ February 13, 2014.
- ↑ "Ukraine: Speaker Oleksandr Turchynov named interim president". BBC News. February 23, 2014. สืบค้นเมื่อ February 23, 2014.
- ↑ "Malaysia Airlines plane missing at sea off Vietnam, presumed crashed". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-08. สืบค้นเมื่อ 2014-03-08.
- ↑ "Ukraine crisis: EU ponders Russia sanctions over Crimea vote". BBC News. March 17, 2014. สืบค้นเมื่อ March 17, 2014.
- ↑ เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2557.
- ↑ South Korean ferry disaster: Death toll rises to 275 as crews search frigid waters
- ↑ "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ'" [Prayuth and military chiefs are controlling state powers]. Komchadluek. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
- ↑ "Top Khmer Rouge leaders guilty of crimes against humanity". BBC. 7 August 2014. สืบค้นเมื่อ 8 August 2014.
- ↑ http://www.bbc.co.uk/news/uk-scotland-29270441
- ↑ "Obama hails 'new chapter' in US-Cuba ties". BBC. 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ "AirAsia flight QZ8501 loses contact with air traffic control". Reuters. 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 28 December 2014.
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ [3]
- ↑ [4]
- ↑ [5]
- ↑ [6]