Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum)

(เปลี่ยนทางจาก ฉลามเสือดาว)
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาขนาดใหญ่
ส่วนใต้ท้องในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Orectolobiformes
วงศ์: Stegostomatidae
Gill, 1862
สกุล: Stegostoma
Müller & Henle, 1837
สปีชีส์: S.  fasciatum
ชื่อทวินาม
Stegostoma fasciatum
(Hermann, 1783)
แผนที่แสดงที่อยู่ของปลาฉลามเสือดาว (สีน้ำเงิน)
ชื่อพ้อง
  • Scyllia quinquecornuatum van Hasselt, 1823
  • Scyllium heptagonum Rüppell, 1837
  • Squalus cirrosus Gronow, 1854
  • Squalus fasciatus Hermann, 1783
  • Squalus longicaudus Gmelin, 1789
  • Squalus pantherinus Kuhl & van Hasselt, 1852
  • Squalus tigrinus Forster, 1781
  • Squalus varius Seba, 1759
  • Stegostoma carinatum Blyth, 1847
  • Stegostoma tigrinum naucum Whitley, 1939
  • Stegostoma varium Garman, 1913

ปลาฉลามเสือดาว (อังกฤษ: zebra shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma[2]

ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย (ในขณะที่ leopard shark ในภาษาอังกฤษหมายถึงฉลามชนิด Triakis semifasciata) เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาว คล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร

ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5–30 เมตร โดยพบในน่านน้ำเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดองและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร[3]

ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด[4]

นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Pillans, R. and Simpfendorfer, C. (2003). Stegostoma fasciatum. In: IUCN 2003. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on May 12, 2009.
  2. จาก itis.gov
  3. Jurassic Shark, รายการสารคดีทาง TTV 1: วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
  4. [ลิงก์เสีย] ดำน้ำกับฉลามเสือดาว/วินิจ รังผึ้ง จากผู้จัดการออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้