Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

วาฬเพชฌฆาต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Killer whale)
วาฬเพชฌฆาต
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน–ปัจจุบัน[1]
วาฬเพชฌฆาตสายพันธุ์อพยพ ที่อะแลสกา
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Odontoceti
วงศ์: Delphinidae
สกุล: Orcinus
Fitzinger, 1860[3]
สปีชีส์: O.  orca
ชื่อทวินาม
Orcinus orca
(Linnaeus, 1758)
แถบที่อยู่อาศัย (สีน้ำเงิน)
ชื่อพ้อง[3]
  • Orca ater Cope in Scammon, 1869
  • Orca capensis Gray, 1846
  • Orcinus glacialis Berzin & Vladimirov, 1983
  • Delphinus gladiator Bonnaterre, 1789
  • Orcinus nanus Mikhalev & Ivashin, 1981
  • Orca rectipinna Cope in Scammon, 1869
  • Delphinus orca Linnaeus, 1758

วาฬเพชฌฆาต (อังกฤษ: killer whale) หรือ วาฬออร์กา (orca) เป็นสปีชีส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) ในอันดับ Artiodactyla สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษย์[4]

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ

[แก้]
ซากดึกดำบรรพ์ Orcinus citoniensis ซึ่งเป็นวาฬในสกุลเดียวกันที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

วาฬเพชฌฆาต เป็นสปีชีส์เดียวในสกุล Orcinus ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ได้รับการบรรยายระบุจำแนกโดย คาโรลัส ลินเนียส ในผลงานหนังสือระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ปี ค.ศ. 1758[5] คอนราด แกซส์เนอร์ เป็นผู้แรกที่เขียนบรรยายลักษณะของวาฬเพชฌฆาตตามหลักวิทยาศาสตร์ใน "Fish book" งานของเขาในปี ค.ศ. 1558 บนพื้นฐานของซากวาฬเกยฝั่งที่ดึงดูดความสนใจของคนท้องถิ่นจำนวนมากในอ่าวไกรฟซ์วัลด์ [6]

วาฬเพชฌฆาตเป็น 1 ใน 35 สปีชี่ส์ของวงศ์โลมามหาสมุทรซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกประมาณ 11 ล้านปีมาแล้ว เชื้อสายวาฬเพชฌฆาตอาจแตกแยกออกมาภายหลังจากนั้นไม่นาน แม้ว่าทางสัณฐานวิทยาวาฬเพชฌฆาตมีลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเพชฌฆาตเล็ก, วาฬเพชฌฆาตดำ และวาฬนำร่อง แต่จากการศึกษาอันดับยีนไซโทโครม บีโดยริชาร์ด รีดัก แสดงว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุลโลมาหัวบาตร (Orcaella)[7]

ชื่อสามัญ

[แก้]

นักวิทยาศาสตร์ที่พูดภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า "killer whale (วาฬเพชฌฆาต)"[8] แม้ว่า คำว่า "orca (ออก้า)" จะถูกใช้มากขึ้น วาฬเพชฌฆาตเป็นข้อสนับสนุนที่บ่งชี้ถึงวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยแท้จริงแล้ว ชื่อสกุล Orcinus หมายถึง "ของอาณาจักรแห่งความตาย"[8] หรือ "เป็นสมาชิกของความตาย (Orcus)"[9] โรมโบราณเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า orca (พหูพจน์ orcae) เพื่อเรียกสัตว์ชนิดนี้ อาจเป็นไปได้ที่ยืมคำมาจากภาษากรีก ὄρυξ (ในหลายๆ คำ) ซึ่งเกี่ยวโยงถึงวาฬชนิดนี้ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1960 ความนิยมของออก้าได้เติบโตอย่างมั่นคง ทั้งในชื่อและการใช้งาน คำว่าออก้าถูกใช้ในบางสิ่งที่ของการเลี่ยงความหมายโดยนัยในเชิงลบของ "นักฆ่า"[10] และเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์โลมามหาสมุทร วาฬชนิดนี้จึงเป็นญาติใกล้ชนิดกับโลมามากกว่าวาฬ[11]

บางครั้งมีการเรียกวาฬเพชฌฆาตว่า "blackfish (ปลาดำ)" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกวาฬชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ในอดีตมีการเรียกวาฬเพชฌฆาตว่า Grampus แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครใช้ชื่อเรียกนี้แล้ว คำว่า Grampus ยังเป็นชื่อสกุลของโลมาริสโซ ซึ่งเป็นสปีชีส์เดียวในสกุลนี้[12]

โดยชื่อ "วาฬเพชฌฆาต" นี้มาจากการเรียกของกะลาสีเรือในสมัยอดีต ที่เห็นพฤติกรรมการไล่ล่าวาฬขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นเป็นอาหาร จึงเรียกว่า "เพชฌฆาตวาฬ" (whale killer) แต่ได้ถูกเรียกขานกันสลับกันไปมาหลายครั้ง จนกลายมาเป็นวาฬเพชฌฆาตในที่สุด[13]

ประเภท

[แก้]
วาฬเพชฌฆาตประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

จากการศึกษาในปี ค.ศ. 1970 และ ค.ศ. 1980 นักวิจัยแถบชายฝั่งตะวันตก ของแคนาดา และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันอธิบายว่า 3 ใน 5 ชนิดของวาฬเพชฌฆาต สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างมากเพียงพอที่จะสามารถแบ่งแยกออกเป็นเผ่าพันธุ์[14] ชนิดย่อย, หรือแยกเป็นชนิดใหม่[15] ได้

  • สายพันธุ์ทั่วไป (Resident) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่มากในแถบชายฝั่ง บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนมากจะล่าปลาเป็นหลัก บางครั้งก็ล่าหมึกบ้าง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างเหนียวแน่นและซับซ้อน เป็นรูปแบบทางสังคมที่มีตัวเมียเป็นจ่าฝูง เรียกว่า "Matriarch" ตัวเมียของสายพันธุ์นี้มีครีบด้านข้างโค้งมน พบเห็นได้บ่อยครั้งแถบบริติชโคลัมเบีย และตอนใต้ของอะแลสกา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล นักวิจัยสามารถระบุวาฬเพชฌฆาตกว่า 300 ตัวได้ ในช่วง 30 ปี และได้ตั้งชื่อให้เข้ากับกลุ่มที่มันอาศัย พร้อมทั้งมอบหมายเลขให้ด้วย
  • สายพันธุ์อพยพ (Transient) พวกนี้จะล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก ไม่กินปลา อาศัยในแถบตอนใต้ของอะแลสกา ส่วนมากอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 2-6 ตัว ไม่อยู่รวมในกลุ่มครอบครัวตลอดเวลา ตัวเมียมีครีบที่ค่อนข้างจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฝูงของมันจะเดินทางไปทั่ว โดยไม่มีเป้าหมายที่แน่ชัด อาจจะพบเห็นได้บางที่ หรือไม่พบเห็นเลย หรือกลับมาที่เดิมในช่วง 10 ปี ทำให้เป็นการยากที่นักวิจัยจะทำการศึกษาเรื่องของมัน พวกมันถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1970 เมื่อมันถูกจับได้ที่บริติชโคลัมเบีย แต่มันปฏิเสธที่จะกินปลาเป็นเวลาถึง 72 วัน อย่างไรก็ตาม มันจะยอมกินก็ต่อเมื่อมันหิวจัด เป็นสาเหตุให้นักวิจัยเริ่มตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับ วาฬเพชฌฆาตสายพันธุ์อื่น ซึ่งการศึกษาเรื่องของมันก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่อาร์เจนตินา และนิวซีแลนด์
  • สายพันธุ์ทะเลลึก (Offshore) พวกนี้จะอาศัยอยู่ในบริเวณทะเลเปิด ส่วนมากจะล่าปลา, เต่าทะเล สามารถพบเห็นพวกมันได้ในฝูงขนาดใหญ่ ประมาณ 60 ตัวขึ้นไป ในปัจจุบันยังมีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับวาฬเพชฌฆาตชนิดนี้ แต่สามารถแยกแยะออกจากสายพันธุ์ ที่กล่าวมาได้ทางพันธุกรรม ตัวเมียจะมีครีบที่หลังโค้งมน ขนาดของสายพันธุ์นี้ส่วนมากจะเล็กกว่า สายพันธุ์ทั่วไปกับสายพันธุ์อพยพ และนักวิทยาศาสตร์สามารถระบุตัวของสายพันธุ์นี้ได้เพียง 40 ตัวเท่านั้น ทำให้ยากที่จะประเมินข้อมูลได้

ปัจจุบันนี้ แม้วาฬเพชฌฆาตจะถูกจัดให้เพียงสปีชีส์เดียวและเป็นเพียงสกุลเดียว แต่จากการศึกษาล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วาฬเพชฌฆาตอาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม หรือ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน หรืออาจะมากกว่า โดยแบ่งไปตามลักษณะภายนอก เช่น ขนาดลำตัว รูปร่างของครีบหลัง ลายบนหลัง ลายด้านข้าง สี รวมถึงพฤติกรรม และถิ่นที่อยู่อาศัย โดยสถานที่ ๆ เดียวที่สามารถพบวาฬเพชฌฆาตทุกประเภทได้ คือ แอนตาร์กติกา หรือ มหาสมุทรใต้

โดยเมื่อกว่า 700,000 ปีที่แล้ว วาฬเพชฌฆาตถูกแบ่งออกมาเป็นกลุ่มแรก คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ต่อมาเมื่อ 450,000 ปีก่อน คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในแถบแอนตาร์กติกา ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นอีกหลายกลุ่ม ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ก็ค่อยแยกออกจากกันในเวลาที่ตามมา[4] ซึ่งวาฬเพชฌฆาตแต่ละกลุ่มนั้นจะแยกกันอยู่ต่างหาก ไม่มีการพบปะหรือพบเจอกันเลย[13]

ในประเทศไทย พบวาฬเพชฌฆาตเพียงแค่ไม่กี่ครั้ง โดยในปี ค.ศ. 1993 พบในทะเลอันดามันทั้งหมด 9 ครั้ง โดยเป็นที่หมู่เกาะสุรินทร์ 5 ครั้ง และหมู่เกาะสิมิลัน 4 ครั้ง และพบอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ที่ฝั่งอ่าวไทย บริเวณเกาะช้าง โดยเป็นวาฬตัวเมียขนาดเล็กที่ได้รับบาดเจ็บ 2 ตัว ซึ่งในตอนแรกเชื่อว่าเป็นโลมาอิรวดี[16] จนกระทั่งพบอีกครั้งในต้นปี ค.ศ. 2016 โดยนักท่องเที่ยวสามารถบันทึกภาพไว้ได้เมื่อต้นปี ค.ศ. 2016 ที่หาดกะรน จังหวัดภูเก็ต[17]

วาฬเพชฌฆาตเผือก

[แก้]

ในต้นปี ค.ศ. 2012 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียพบวาฬเพชรฆาตตัวผู้ตัวหนึ่ง เป็นวาฬเพชฌฆาตเผือกที่นอกชายฝั่งคาบสมุทรคัมชัตคา ในรัสเซีย ซึ่งนับเป็นวาฬเพชฌฆาตเผือกโตเต็มวัยตัวแรกที่ถูกค้นพบ โดยก่อนหน้านั้นมีพบวาฬเพชฌฆาตเผือก 2 ตัวที่รัสเซีย แต่ยังไม่ใช่ตัวโตเต็มวัย แต่กับตัวนี้เป็นตัวโตเต็มวัย จึงคาดว่ามีอายุ 16 ปี หรือมากกว่า และตั้งชื่อให้ว่า "ไอซ์เบิร์ก" (ภูเขาน้ำแข็ง)[18]

พฤติกรรม

[แก้]

วาฬเพชฌฆาตเป็นนักล่าที่ชาญฉลาด ส่วนมากล่าปลาเป็นอาหาร ในบางสายพันธุ์จะล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอย่างแมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้กระทั่งวาฬขนาดใหญ่ วาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์สังคม จนได้รับฉายาว่า "หมาป่าแห่งท้องทะเล" [19]โดยสัณนิษฐานได้จากพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนของมัน อย่างเช่น เทคนิคการล่า การส่งเสียงที่สามารถสื่อความหมายระหว่างกันได้ โดยการศึกษาพบว่าวาฬเพชฌฆาตแต่ละฝูงจะมีการส่งเสียงที่แตกต่างกัน แม้จะอยู่ในพื้นที่แถบเดียวกันก็ตาม โดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูงหรือผู้นำฝูง ตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และให้ลูกได้เมื่ออายุ 3 ปี เมื่อล่าปลาแต่ละสปีชีส์ที่แตกต่างกัน วาฬเพชฌฆาตก็จะส่งเสียงที่แตกต่างกันด้วย และยังพบอีกด้วยว่าสมองของมันยังสามารถแสดงออกถึงอารมณ์คล้ายกับมนุษย์ได้อีกด้วย[4]

ถึงแม้ว่าวาฬเพชฌฆาตจะไม่จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ แต่ในบางพื้นที่มันก็ได้รับความคุ้มครอง อันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของสารพิษในน้ำทะเล การตกเป็นเหยื่อของนักล่าที่ใหญ่กว่าแล้วเพิ่มจำนวนไม่ทัน การถูกจับโดยบังเอิญระหว่างการทำประมง การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย การถูกมนุษย์ล่า โดยส่วนมากแล้ววาฬเพชฌฆาตจะไม่ทำร้ายมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่าทำร้ายมนุษย์ อย่างเช่น ในกรณีของวาฬเพชฌฆาตในสวนน้ำ[4]

พฤติกรรมการล่า

[แก้]

วาฬเพชฌฆาตจัดเป็นนักล่าอันดับต้น ๆ มันกินอาหารราว 227 กิโลกรัม/วัน และมันไม่เคยนอนหลับ แต่จะใช้วิธีว่ายน้ำช้า ๆ แทน ไม่อย่างนั้นมันจะจมน้ำตาย วาฬเพชฌฆาตที่มีอายุมากกว่าจะสอนวิธีการล่าเหยื่อให้แก่วาฬเพฌฆาตที่อายุน้อยกว่า[20]

เทคนิคการล่าเหยื่อประเภทปลา

[แก้]

วาฬเพชฌฆาตมุ่งเป้าโจมตีไปที่สปีชีส์ของปลาแซลมอน และปลาทูน่า รวมไปถึงปลาฉลามบางพันธุ์อย่างปลาฉลามอาบแดดเป็นต้น ในบางกรณีเมื่อมันต้องการปกป้องลูกของมัน วาฬเพชฌฆาตสามารเอาชนะปลาฉลามขาว ได้ ในประเทศนิวซีแลนด์พบว่าวาฬเพชฌฆาตยังล่าพวกปลากระเบน, หมึก รวมไปถึงเต่าทะเลด้วย สำหรับเหยื่อประเภท ปลาแซลมอน วาฬเพชฌฆาตมักจะลุยเดี่ยว หรือออกล่าเป็นกลุ่มเล็กๆ ส่วนเหยื่อพวกปลาเฮร์ริง วาฬเพชฌฆาตจะใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า "Carousel feeding" โดยมันจะต้อนฝูงปลาแฮร์ริ่งไปที่บริเวณผิวน้ำ แล้วใช้หางตวัดกระแทกผิวน้ำอย่างแรง ทำให้ปลามึนและแตกตื่น ซึ่งสัญชาตญาณของปลาแฮร์ริ่งจะกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำ เมื่ออยู่ในภาวะเช่นนั้น

เทคนิคการล่าเหยื่อประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

[แก้]
พฤติกรรมการมองที่เรียกว่า "Spyhopping"

วาฬเพชฌฆาตจะล่าเหยื่อที่อยู่ในอันดับ Cetacea ถึง 22 สปีชี่ส์ ซึ่งทราบได้จากการตรวจสอบสิ่งที่หลงเหลืออยู่ในกระเพาะอาหาร และแผลเป็นของเหยื่อ ฝูงวาฬเพชฌฆาตสามารถจู่โจมวาฬที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่าง วาฬมิงค์, วาฬสีเทา, วาฬหัวทุย โดยวาฬเพชฌฆาตจะเลือกเหยื่อที่มีอายุน้อย หรืออ่อนแอกว่า แต่ว่าฝูงวาฬเพชฌฆาตประมาณ 5 ตัว สามารถจู่โจมวาฬอื่น ที่โตเต็มวัยได้ แต่มันก็หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับวาฬหัวทุยที่โตเต็มวัย เพราะว่าวาฬหัวทุยตัวใหญ่กว่า แข็งแกร่ง และดุร้ายพอที่จะฆ่าวาฬเพชฌฆาตได้

เวลามันล่าลูกวาฬ ฝูงวาฬเพชฌฆาตจะต้อนตัวแม่จนกระทั่งเริ่มอ่อนแรง แล้วแยกตัวลูกออกจากตัวแม่ ฝูงวาฬเพชฌฆาตก็จะล้อมตัวลูกไว้ แล้วสกัดไม่ให้ตัวลูกขึ้นไปหายใจได้ จนกระทั่งมันจมน้ำตาย ในบางกรณีฝูงวาฬหัวทุยตัวเมีย สามารถป้องกันการจู่โจมของฝูงวาฬเพชฌฆาตได้โดยการ ล้อมตัวลูกเป็นวงกลม แล้วยื่นหางออกไปทาง วาฬเพชฌฆาตเป็นการพร้อมโจมตี เหยื่อประเภทแมวน้ำ, สิงโตทะเล, วอลรัส, นากทะเล จะเป็นเหยื่ออันดับรองลงมาจากพวกวาฬ นาน ๆ ครั้งหมีขั้วโลก ก็อาจตกเป็นเหยื่อได้เหมือนกัน รวมทั้งบางครั้งกินพ่อเเม่ด้วย

วาฬเพชฌฆาตจะใช้วิธีการล่าที่แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ สำหรับเหยื่อพวกสิงโตทะเล จะใช้วิธีเอาหัวกระแทก หรือเอาหางฟาด บางครั้งก็ชน บางครั้งก็ใช้วิธีเหวี่ยงขึ้นไปบนอากาศแล้วฟาด บางครั้งขึ้นมาจนถึงริมฝั่งเพื่อลากเหยื่อลงน้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่พวกวาฬเพชฌฆาตตัวเต็มวัย จะสอนให้กับตัวที่อายุน้อยกว่าที่ยังไม่ค่อยรู้เทคนิคการล่า สำหรับเหยื่อพวกแมวน้ำที่อยู่บนแผ่นน้ำแข็ง วาฬเพชฌฆาตจะแอบมองดูเหยื่อด้วยวิธี "Spyhopping" เพื่อระบุตำแหน่งของเหยื่อ แล้วจะสร้างคลื่นเพื่อซัดแมวน้ำให้ตกลงไปในน้ำ ในขณะที่วาฬเพชฌฆาตอีกตัวรอซุ่มโจมตีอยู่ เเต่วาฬมีความต้องการทางเพศสูง

วาฬเพชรฆาตในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]
วาฬกิโกะ รับบทเป็น วิลลี่ ในภาพยนตร์เรื่อง Free Willy

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Orcinus orca Linnaeus 1758". Fossilworks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2020. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.
  2. Taylor, B.L., Baird, R., Barlow, J., Dawson, S.M., Ford, J., Mead, J.G., Notarbartolo di Sciara, G., Wade, P. & Pitman, R.L. (2012). "Orcinus orca". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "Orcinus orca (Linnaeus, 1758)". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "ท่องโลกกว้าง: ไขความลับวาฬเพชฌฆาต". ไทยพีบีเอส. 11 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-03. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  5. Linnaeus, C. (1758). Systema naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I (10th ed.). Holmiae. (Laurentii Salvii). p. 824. (ละติน)
  6. Zum Wal in der Marienkirche เก็บถาวร 2010-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in German). St. Mary's Church, Greifswald. Retrieved 2010-02-16
  7. LeDuc, R. G.; Perrin, W. F.; Dizon, A. E. (1999). "Phylogenetic relationships among the delphinid cetaceans based on full cytochrome b sequences". Marine Mammal Science. 15 (3): 619–648. doi:10.1111/j.1748-7692.1999.tb00833.x.
  8. 8.0 8.1 Ford, Ellis & Balcomb 2000, p. 69
  9. Killer Whales. Scientific Classification เก็บถาวร 2012-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Seaworld.org, 23 September 2010, Retrieved 2010-09-09.
  10. Olsen, Ken. Orcas on the Edge – Killer: It's a Name, Not an Accusation. National Wildlife Federation. 10 January 2006. Retrieved 2010-01-26.
  11. Best, P.B. 2007 Whales and Dolphins of the Southern African Subregion ISBN 978-0-521-89710-5
  12. Leatherwood, Stephen and Larry J. Hobbs (1988). Whales, dolphins, and porpoises of the eastern North Pacific and adjacent Arctic waters: a guide to their identification, p. 118. Courier Dover Publications. ISBN 0-486-25651-0 Retrieved 2010-01-28.
  13. 13.0 13.1 หน้า 7 จุดประกาย WILD, โรงเรียนออก้า. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10472: วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  14. (Baird 1999). Status of Killer Whales in Canada. Contract report to the Committee on the Status of Endangered Wildlife in Canada, Ottawa, ON, Canada. Also published as Status of Killer Whales, Orcinus orca, in Canada เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Canadian Field-Naturalist 115 (4) (2001), 676–701. Retrieved 2010-01-26.
  15. Pitman, Robert L. and Ensor, Paul (2003). "Three forms of killer whales (Orcinus orca) in Antarctic waters" (PDF). Journal of Cetacean Research and Management. 5 (2): 131–139.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. "อึ้ง!โลมาอิรวดีบาดเจ็บที่แท้เป็นวาฬเพชฌฆาต ไม่พบในทะเลไทยนับสิบปีแล้ว". ไทยรัฐ. 19 March 2013. สืบค้นเมื่อ 11 January 2016.
  17. "ฮือฮา'ออก้าร์'วาฬเพชรฆาต โผล่กลาง'อ่าวกะรน'ภูเก็ต!". เดลินิวส์. 10 January 2016. สืบค้นเมื่อ 11 January 2016.
  18. "นักวิทย์รัสเซียพบ "วาฬเพชฌฆาตเผือก" โตเต็มวัยตัวแรกของโลก". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-26.
  19. "Wolves of the Sea" (PDF). superteacherworksheets.com. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  20. สำรวจโลก, สารคดีทาง new)tv. วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Orcinus orca ที่วิกิสปีชีส์