ประเทศโกตดิวัวร์
สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ République de Côte d'Ivoire (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
เมืองหลวง | ยามูซูโกร (โดยนิตินัย) อาบีจาน (โดยพฤตินัย) 6°51′N 5°18′W / 6.850°N 5.300°W |
เมืองใหญ่สุด | อาบีจาน |
ภาษาราชการ | ฝรั่งเศส |
ภาษาพื้นเมือง | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2018) |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2020)[1] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญภายใต้ระบบรัฐสภา |
Alassane Ouattara | |
Tiémoko Meyliet Koné | |
Robert Beugré Mambé | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาโกตดิวัวร์ |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | รัฐสภา |
ประวัติ | |
• ก่อตั้งสาธารณรัฐ | 4 ธันวาคม ค.ศ. 1958 |
• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส | 7 สิงหาคม ค.ศ. 1960 |
พื้นที่ | |
• รวม | 322,463 ตารางกิโลเมตร (124,504 ตารางไมล์) (อันดับที่ 68) |
1.4[2] | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2020 ประมาณ | 26,378,274[3] (อันดับที่ 53) |
63.9 ต่อตารางกิโลเมตร (165.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 139) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 144.497 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 79) |
• ต่อหัว | 5,360 ดอลลาร์สหรัฐ[4] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 61.502 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
• ต่อหัว | 2,281 ดอลลาร์สหรัฐ[4] |
จีนี (ค.ศ. 2015) | 41.5[5] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.538[6] ต่ำ · อันดับที่ 162 |
สกุลเงิน | West African CFA franc (XOF) |
เขตเวลา | UTC (เวลามาตรฐานกรีนิช) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +225 |
รหัส ISO 3166 | CI |
โดเมนบนสุด | .ci |
|
โกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: Côte d'Ivoire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอวอรีโคสต์ (อังกฤษ: Ivory Coast) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: République de Côte d'Ivoire) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก มีเมืองหลวงคือยามูซูโกร ซึ่งอยู่ใจกลางของประเทศ ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจคืออาบีจาน มีพรมแดนติดกับกินีทางตะวันตกเฉียงเหนือ ไลบีเรียทางทิศตะวันตก มาลีทางตะวันตกเฉียงเหนือ บูร์กินาฟาโซทางตะวันออกเฉียงเหนือ กานาทางตะวันออก และอ่าวกินีทางใต้ ด้วยจำนวนประชากร 30.9 ล้านคนใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์จึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามในแอฟริกาตะวันตก ภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศส และภาษาพื้นเมือง โดยรวมแล้วมีภาษาต่าง ๆ ที่พูดกันประมาณ 78 ภาษาในโกตดิวัวร์ ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนา ประเทศมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาอิสลาม คริสต์ และศาสนาพื้นเมือง เช่น ลัทธิวิญญาณนิยม[7]
ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคม โกตดิวัวร์เป็นที่ตั้งของรัฐหลายแห่ง รวมถึงกยามาน, จักรวรรดิคอง และเบาเล ดินแดนนี้กลายเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2386 และได้รับการรวมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1893 ในช่วงการอาณานิคมในแอฟริกา โกตติวัวร์ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1960 โดย เฟลิกซ์ ฮูฟูเอต์-บวนญี ซึ่งปกครองประเทศจนถึง ค.ศ. 1993 โกตติวัวร์ค่อนข้างมีเสถียรภาพตามมาตรฐานภูมิภาคและได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านในแอฟริกาตะวันตก ขณะเดียวกันก็รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศส เสถียรภาพของประเทศลดลงเนื่องจากการรัฐประหารใน ค.ศ. 1999 และสงครามกลางเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 2002 ถึง 2007[8] และอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 2010–2011 มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้ในปี 2559[9]
โกตดิวัวร์เป็นสาธารณรัฐที่มีอำนาจบริหารสูงสุดเป็นของประธานาธิบดี ด้วยการผลิตกาแฟและโกโก้ โกตติวัวร์จึงกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 จากนั้นจึงประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งก่อให้เกิดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมที่ขยายไปจนถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงนับตั้งแต่การกลับมาของสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองใน ค.ศ. 2011 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ถึง 2023 เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ย 7.1% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสองในแอฟริกาและเป็นอัตราที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสี่ในโลก[10] ใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงเป็นอันดับสองในแอฟริกาตะวันตกตามหลังกาบูเวร์ดี[11] ใน ค.ศ. 2020 โกตดิวัวร์เป็นผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลกและมีรายได้สูงในภูมิภาคนี้[12] แต่เศรษฐกิจยังคงต้องพึ่งพาการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีการผลิตพืชของเกษตรกรรายย่อยเป็นสำคัญ[2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]โกตดิวัวร์เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกของทะเลทรายซาฮารา มีพรมแดนติดกับประเทศไลบีเรียและประเทศกินีทางทิศตะวันตก ประเทศมาลีและประเทศบูร์กินาฟาโซทางทิศเหนือ ประเทศกานาทางทิศตะวันออก และอ่าวกินี (มหาสมุทรแอตแลนติก) ทางทิศใต้ ประเทศนี้อยู่ระหว่างละติจูด 4° และ 11°N และลองจิจูด 2° และ 9°W พื้นที่ประมาณร้อยละ 64.8 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินทำกินมีจำนวนร้อยละ 9.1 ทุ่งหญ้าถาวรร้อยละ 41.5 และพืชผลถาวรร้อยละ 14.2 มลพิษทางน้ำเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่
ความหลากหลายทางชีวภาพ
[แก้]โกตดิวัวร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในแอฟริกาตะวันตก มีสัตว์มากกว่า 1,200 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 223 ชนิด นก 702 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 125 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 38 ชนิด และปลา 111 ชนิด รวมถึงพันธุ์พืชกว่า 4,700 ชนิด โดยประชากรสัตว์ป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระของประเทศ[13] โกตดิวัวร์มีอุทยานแห่งชาติ 9 แห่ง โดยอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดคืออุทยานแห่งชาติ Assgny ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 17,000 เฮกตาร์หรือ 42,000 เอเคอร์[14]
โกตดิวัวร์มีอีโครีเจียนบนบก 6 แห่ง ได้แก่ ป่ากินีตะวันออก ป่าดิบเขากินี ป่าที่ราบลุ่มกินีตะวันตก ป่ากินี-ทุ่งหญ้าสะวันนาโมเสก ทุ่งหญ้าสะวันนาซูดานตะวันตก และป่าชายเลนกินี[15] มีดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2018 ที่ 3.64 เต็ม 10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 143 ของโลก จาก 172 ประเทศ[16]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ivory Coast". Global Religious Futures. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-29. สืบค้นเมื่อ 1 July 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Côte d'Ivoire". The World Factbook. CIA Directorate of Intelligence. 24 July 2008. สืบค้นเมื่อ 8 August 2008.
- ↑ "Population by Country (2020)". Worldometer.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2020 - Côte d'Ivoire". imf.org. IMF. สืบค้นเมื่อ 13 October 2020.
- ↑ "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Human Development Report 2020, p. 343–346
- ↑ "RECENSEMENT GENERAL DE LA POPULATION ET DE L'HABITAT 2021 RESULTATS GLOBAUX DEFINITIFS" (PDF). Institut National de la Statistique (INS) (ภาษาฝรั่งเศส). October 2022.
- ↑ "Loi n° 2000-513 du 1er août 2000 portant Constitution de la République de Côte d'Ivoire" (PDF). Journal Officiel de la République de Côte d'Ivoire (ภาษาฝรั่งเศส). 42 (30): 529–538. 3 August 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2024-02-19.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help), - ↑ "Ivory Coast backs new constitution in landslide vote, opposition cries foul". 2 November 2016.
- ↑ IMF. "World Economic Outlook database: October 2023". สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.
- ↑ IMF. "World Economic Outlook database: October 2023". สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.
- ↑ "Ivory Coast country profile". BBC News. 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "COTE D' IVOIRE (IVORY COAST)". Monga Bay.
- ↑ "Parc national d'Azagny". United Nations Environment Programme. 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
- ↑ Dinerstein, Eric; Olson, David; และคณะ (2017). "An Ecoregion-Based Approach to Protecting Half the Terrestrial Realm". BioScience. 67 (6): 534–545. doi:10.1093/biosci/bix014. ISSN 0006-3568. PMC 5451287. PMID 28608869.
- ↑ Grantham, H. S.; Duncan, A.; และคณะ (2020). "Anthropogenic modification of forests means only 40% of remaining forests have high ecosystem integrity - Supplementary Material". Nature Communications. 11 (1): 5978. Bibcode:2020NatCo..11.5978G. doi:10.1038/s41467-020-19493-3. ISSN 2041-1723. PMC 7723057. PMID 33293507.
บรรณานุกรม
[แก้]- Appiah, Anthony; Gates, Henry Louis, บ.ก. (2010). Encyclopedia of Africa. Vol. 1. Oxford University Press. ISBN 978-0195337709 – โดยทาง Google Books.
- Baten, Jörg (2016). A History of the Global Economy. From 1500 to the Present. Cambridge University Press. ISBN 9781107507180.
- Auzias, Dominique; Labourdette, Jean-Paul (2008). Côte d'Ivoire. Petit futé Country Guides (ภาษาฝรั่งเศส). Petit Futé. ISBN 9782746924086.
- Blanchard, Pierre (1818). Le Voyageur de la jeunesse dans les quatre parties du monde (ภาษาฝรั่งเศส) (5th ed.). Paris: Le Prieur.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Ivory Coast". Encyclopædia Britannica. Vol. 15 (11th ed.).
- David, Philippe (2000). La Côte d'Ivoire (ภาษาฝรั่งเศส) (KARTHALA Editions, 2009 ed.). Paris: Méridiens. ISBN 9782811101961.
- Duckett, William (1853). "Côte Des Dents". Dictionnaire de la conversation et de la lecture inventaire raisonné des notions générales les plus indispensables à tous (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 6 (2nd ed.). Paris: Michel Lévy frères.
- Essegbey, George; Diaby, Nouhou; Konté, Almamy (2015). "West Africa". UNESCO Science Report: towards 2030 (PDF). Paris: UNESCO. ISBN 978-92-3-100129-1. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
- Homans, Isaac Smith (1858). "Africa". A cyclopedia of commerce and commercial navigation. Vol. 1. New York: Harper & brothers.
- Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- International Institute for Strategic Studies (2012). Military Balance 2012 (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-0-429-33356-9. OCLC 1147908458.
- Jessup, John E. (1998), An Encyclopedic Dictionary of Conflict and Conflict Resolution, 1945–1996, Westport, Connecticut: Greenwood Publishing Group, ISBN 978-0-313-28112-9, OCLC 37742322
- Kipré, Pierre (1992), Histoire de la Côte d'Ivoire (ภาษาฝรั่งเศส), Abidjan: Editions AMI, OCLC 33233462
- Lea, David; Rowe, Annamarie (2001). "Côte d'Ivoire". A Political Chronology of Africa. Political Chronologies of the World. Vol. 4. Taylor & Francis. ISBN 9781857431162.
- Lipski, John M. (2005). A History of Afro-Hispanic Language: Five Centuries, Five Continents. Cambridge University Press. ISBN 9780521822657.
- McGovern, Mike (2011). Making War in Côte d'Ivoire. University of Chicago Press. ISBN 978-0226514604.
- Ministry of Economy and Finances of the Republic of Côte d'Ivoire (2007), La Côte d'Ivoire en chiffres (ภาษาฝรั่งเศส), Abidjan: Dialogue Production, OCLC 173763995
- Mortimer, Edward (1969). France and the Africans 1944–1960 – A Political History. London: Faber & Faber. ISBN 0-571-08251-3. OCLC 31730.
- Plée, Victorine François (1868). "Côte des Dents où d'Ivoire". Peinture géographique du monde moderne: suivant l'ordre dans lequel il a été reconnu et decouvert (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Pigoreau.
- Rougerie, Gabriel (1978), L'Encyclopédie générale de la Côte d'Ivoire (ภาษาฝรั่งเศส), Abidjan: Nouvelles publishers africaines, ISBN 978-2-7236-0542-7, OCLC 5727980
- Thornton, John K. (1996). "The African background to American colonization". ใน Engerman, Stanley L.; Gallman, Robert E. (บ.ก.). The Cambridge Economic History of the United States. Vol. 1. Cambridge University Press. ISBN 9780521394420.
- Vaissète, Jean Joseph (1755). Géographie historique, ecclesiastique et civile (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 11. Paris: chez Desaint & Saillant, J.-T. Herissant, J. Barois.
- Walckenaer, Charles-Athanase (1827). Histoire générale des voyages ou Nouvelle collection des relations de voyages par mer et par terre (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 8. Paris: Lefèvre.
- Warner, Rachel (1988). "Historical Setting". ใน Handloff, Robert Earl (บ.ก.). Cote d'Ivoire: a country study. Washington, D.C.: Federal Research Division, Library of Congress. OCLC 44238009. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
{{cite encyclopedia}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website of the Government of Ivory Coast (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Côte d'Ivoire. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศโกตดิวัวร์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Côte d'Ivoire
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศโกตดิวัวร์ ที่โอเพินสตรีตแมป
- การค้า