แมคโครฟาจ
แมคโครฟาจ (Macrophage) | |
---|---|
เซลล์แมโครฟาจของหนูกำลังยืด "แขน" (ฟิโลโพเดีย)[1] ไปจับกลืนอนุภาคซึ่งอาจเป็นเชื้อก่อโรค ภาพย้อมด้วยสีทริพแพนบลูเอกซ์คลูชัน | |
รายละเอียด | |
การออกเสียง | /ˈmakrə(ʊ)feɪdʒ/ |
ระบบ | ระบบภูมิคุ้มกัน |
หน้าที่ | กลืนกินสิ่งแปลกปลอม |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Macrophagocytus |
คำย่อ | Mφ, MΦ |
MeSH | D008264 |
TH | H2.00.03.0.01007 |
FMA | 63261 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์ |
แมคโครฟาจ (อังกฤษ: macrophage) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่กลืนกินและย่อยสลายสิ่งใดๆ ที่ไม่มีโปรตีนผิวที่บ่งบอกว่าเป็นเซลล์ร่างกายปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง จุลชีพ ชิ้นส่วนของเซลล์ สิ่งแปลกปลอม และอื่นๆ[2][3] กระบวนการนี้เรียกว่าฟาโกซัยโตซิส มีประโยชน์ในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและการบาดเจ็บ[4]
แมคโครฟาจเป็นเซลล์กลืนกินชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ พบได้ในเนื้อเยื่อแทบทุกชนิด[5] เซลล์นี้จะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่างๆ ของเนื้อเยื่อด้วยการเคลื่อนที่แบบอะมีบาเพื่อหาสิ่งที่อาจจะเป็นสารก่อโรค มีรูปร่างและชื่อแตกต่างออกไปหลายแบบในแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น ฮิสติโอซัยต์ เซลล์คุฟเฟอร์ แมคโครฟาจถุงลม ไมโครเกลีย และอื่นๆ โดยทั้งหมดต่างก็ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของระบบเซลล์กลืนกินแบบนิวเคลียสทรงเดี่ยว นอกจากจะทำหน้าที่ในกระบวนการฟาโกซัยโตซิสแล้วยังมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิมที่ทำหน้าที่แบบไม่จำเพาะ และมีส่วนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวที่ทำหน้าที่แบบจำเพาะด้วยการส่งสัญญาณเรียกเซลล์อื่นในระบบ เช่น ลิมโฟซัยต์ เข้ามารับช่วงต่อ ตัวอย่างเช่น แมคโครฟาจทำหน้าที่เป็นเซลล์นำเสนอแอนติเจน ช่วยนำเสนอแอนติเจนให้กับเซลล์ที ในมนุษย์จะพบว่าหากแมคโครฟาจทำหน้าที่ผิดปกติอาจทำให้เกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น โรคแกรนูโลมาตัสแบบเรื้อรัง ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้บ่อย เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kress, H; Stelzer, EH; Holzer, D; Buss, F; Griffiths, G; Rohrbach, A (10 July 2007). "Filopodia act as phagocytic tentacles and pull with discrete steps and a load-dependent velocity". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 104 (28): 11633–8. Bibcode:2007PNAS..10411633K. doi:10.1073/pnas.0702449104. PMC 1913848. PMID 17620618.
- ↑ Mahla, RS; และคณะ (2021). "NIX-mediated mitophagy regulate metabolic reprogramming in phagocytic cells during mycobacterial infection". Tuberculosis. 126 (January): 102046. doi:10.1016/j.tube.2020.102046. PMID 33421909.
- ↑ "Regenerative Medicine Partnership in Education". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 May 2015.
- ↑ Nahrendorf M, Hoyer FF, Meerwaldt AE, et al. Imaging Cardiovascular and Lung Macrophages With the Positron Emission Tomography Sensor 64Cu-Macrin in Mice, Rabbits, and Pigs. Circ Cardiovasc Imaging. 2020;13(10):e010586. doi:10.1161/CIRCIMAGING.120.010586, 10.1161/CIRCIMAGING.120.010586
- ↑ Ovchinnikov DA (September 2008). "Macrophages in the embryo and beyond: much more than just giant phagocytes". Genesis. 46 (9): 447–62. doi:10.1002/dvg.20417. PMID 18781633. S2CID 38894501.
Macrophages are present essentially in all tissues, beginning with embryonic development and, in addition to their role in host defense and in the clearance of apoptotic cells, are being increasingly recognized for their trophic function and role in regeneration.