Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ฟิล์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟิลม์ถ่ายภาพ)
ม้วนฟิล์มของโกดัก
ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง

ฟิล์มถ่ายภาพ (photographic film) เป็นแถบวัสดุทำจากพลาสติก (โพลีเอสเตอร์, เซลลูลอยด์ หรือเซลลูโลสอะซิเตด) เคลือบด้วยสารเคมีที่มีส่วนผสมของเกลือเงินไวแสง ที่มีขนาดของผลึกแตกต่างกันตามค่าความไวแสงหรือความละเอียดของเนื้อฟิล์ม เมื่อสารเคมีที่เคลือบไว้ถูกกับแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์) จะทำให้เกิดภาพปรากฏขึ้นบนแผ่นฟิล์ม โดยจะเป็นภาพที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เพื่อให้ภาพที่ได้ปรากฏให้เห็น

ฟิล์มถูกใช้เป็นตัวรับภาพในกล้องถ่ายรูป เมื่อแสงตกกระทบบนเยื่อไวแสงที่ฉาบไว้บนฟิล์มก็จะเกิดภาพแฝงขึ้นเรียกว่า "latent image" ซึ่งเป็นภาพที่ตามองไม่เห็นต่อเมื่อนำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างน้ำยาเคมีแล้ว จึงสามารถมองเห็นภาพได้ วัสดุไวแสงที่บนฟิล์มนี้ คือ เงินเฮไลด์ (Silver halide) ซึ่งได้มาจากการนำเอาแร่เงินมาละลายผ สมกับกรดไนตริกแอซิก เป็นซิลเวอร์ไนเตรด เมื่อส่วนที่ละลายแห้งและเย็นลงแล้ว ก็จะได้ผลึกซิลเวอร์ไนเตรดที่บริสุทธิ์นำไปผสมกับเจลาตินและ โปรแตสเซี่ยมโบรไมด์ ลงไป ก็จะได้ ซิลเวอร์โบรไมด์ อยู่ในเจลาติน นำไปฉาบบนผิวของฐานฟิล์ม (film base) เมื่อนำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปล้างในน้ำยาสร้างภาพครบตามกระบวนการ บริเวณของฟิล์มที่ถูกฉายแสงจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำทึบ ส่วนบริเวณที่ไม่ถูกแสงเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำยาคงสภาพ (Fixer) เงินเฮไลด์จะหลุดออกจากฟิล์มไป ส่วนนั้นจะมีลักษณะโปร่งใส ภาพที่เกิดขึ้นบนฟิล์มจึงมีลักษณะกลับกันกับวัตถุจริง เรียกว่า ภาพเนกาตีฟ (Negative)

ฟิล์มขาวดำจะมีสารเคมีเคลือบไว้ชั้นเดียว เมื่อผ่านการล้างฟิล์มแล้วเกลือเงินจะเปลี่ยนรูปเป็นโลหะเงินทึบแสง ซึ่งจะปรากฏเป็นส่วนสีดำของเนกาทีฟ

ฟิล์มสีจะมีชั้นของสารเคมีอย่างน้อยสามชั้น โดยแต่ละชั้นจะไวต่อแสงต่างสีกัน ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ชั้นต่ำต่อมาไวต่อแสงสีเขียวและแดงตามลำดับ

การทำงานของฟิล์ม

[แก้]

หลังจากที่ฟิล์มถูกฉายแสง (Exposed to light) ในปริมาณที่พอเหมาะ ภาพของวัตถุจะถูกบันทึกไว้ในเยื่อไวแสงในลักษณะของภาพแฝง (Latent image) ซึ่งเป็นภาพที่ยังมองไม่เห็น จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เมื่อนำฟิล์มที่ผ่านน้ำยาสร้างภาพ (Developer) เฉพาะบริเวณฟิล์มที่ถูกแสงจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาพของเงินสีดำ ส่วนบริเวณฟิล์มที่ไม่ถูกแสงยังคงมีเงินเฮไลต์ ซึ่งยังคงไวต่อแสงอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาสร้างภาพ ดังนั้นจึงต้องนำฟิล์มไปล้างต่อในน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ที่จะทำให้ภาพคงตัว โดยมีไฮโปหรือโซเดียมไธโอซัลเฟตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

น้ำยานี้จะทำปฏิกิริยากับเงินเฮไลต์ ทำให้เงินเฮไลต์หลุดออกมาจากฟิล์ม คงเหลืออยู่แต่ภาพเงินสีดำ ซึ่งเป็นภาพของวัตถุที่บันทึกมา ส่วนใดจะมีสีดำมากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงที่ได้รับมา ฉะนั้นลักษณะของภาพที่เกิดในฟิล์มจึงมีส่วนที่มีสีดำทึบบ้าง สีจางเป็นสีเทาบ้าง

ความเข้มของสีในฟิล์มนี้จะมีลักษณะกลับกันกับวัตถุที่เป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีดำ ในฟิล์มจะใสสว่างขาว และถ้าวัตถุมีสีขาว ในฟิล์มจะมีสีดำทึบ จึงเรียกฟิล์มนี้ว่า ฟิล์มเนกาทีฟ (Nagative) เมื่อนำฟิล์มนี้ไปอัดขยายบนกระดาษอัดภาพ จะได้สีที่ภาพกลับกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพจริงเหมือนวัตถุที่ถ่ายมา เรียกว่า ภาพโพสิทีฟ (Positive)

ประเภทของฟิล์ม

[แก้]

ฟิล์มทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

  • ฟิล์มเนกาทีฟ (Negative film) หรือที่นิยมเรียกว่า "ฟิล์มสี" เมื่อผ่านการล้าง เนกาทีฟที่ได้จะมีสีกลับด้าน (สีดำมองเห็นเป็นสีขาว สีขาวมองเห็นเป็นสีดำ หรือสีเหลืองมองเห็นเป็นสีน้ำเงิน สีน้ำเงินมองเห็นเป็นสีเหลือง) ถ้าต้องการเห็นภาพที่มีสีถูกต้อง จะต้องนำไปอัดลงบนกระดาษอัดภาพ ในที่นี้หมายถึงทั้งฟิล์มสำหรับถ่ายภาพสีและถ่ายภาพขาวดำ
  • ฟิล์มสไลด์ (Reversal film) เมื่อผ่านการล้าง จะได้แผ่นใสที่มีสีตรงตามความเป็นจริง สามารถส่องดูผ่านแสงได้เลย นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยช่างภาพมืออาชีพ เนื่องจากให้สีสันที่ถูกต้องครบถ้วนกว่าฟิล์มสีเนกาทีฟ

ขนาดของฟิล์ม

[แก้]

บริษัทผลิตฟิล์ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]