วงศ์ปลากระบอก
วงศ์ปลากระบอก | |
---|---|
ปลากระบอกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Mugiliformes |
วงศ์: | Mugilidae |
สกุล | |
|
วงศ์ปลากระบอก (วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)) เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้[1]
ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชีย เช่น อินโด-แปซิฟิก, ฟิลิปปิน และออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่
ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis), ปลากระบอกดำ (L. parsia), ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น
เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง[2]
สกุล
[แก้]- Agonostomus (3 ชนิด)
- Aldrichetta (มีชนิดเดียว)
- Cestraeus (3 ชนิด)
- Chaenomugil (มีชนิดเดียว)
- Chelon (3 ชนิด)
- Crenimugil (2 ชนิด)
- Joturus (มีชนิดเดียว)
- Liza (24 ชนิด)
- Moolgarda (มีชนิดเดียว)
- Mugil (17 ชนิด)
- Myxus (4 ชนิด)
- Neomyxus (2 ชนิด)
- Oedalechilus (2 ชนิด)
- Rhinomugil (2 ชนิด)
- Sicamugil (2 ชนิด)
- Valamugil (9 ชนิด)
- Xenomugil (มีชนิดเดียว)[1]
โดยที่ปลากระบอก มีชื่อเรียกในภาษาไทยแตกต่างออกไปตามแต่ละท้องที่ อาทิ ในภาษาใต้จะเรียกว่า "กระเมาะ", "ละเมาะ", "ยมก" หรือ "มก" เป็นต้น [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ ชนิดปลาที่นิยมเลี้ยง: ปลาไทย โดย นายเมฆ บุญพราหมณ์ ตามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7 จากสนุกดอตคอม
- ↑ [https://web.archive.org/web/20110926151725/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp เก็บถาวร 2011-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระบอก ๒ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]