วงศ์ปลาจวด
วงศ์ปลาจวด | |
---|---|
ปลาม้า (Boesemania microlepis) เป็นชนิดที่พบในน้ำจืดในประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Sciaenidae van der Hoven, 1830 |
สกุล | |
|
วงศ์ปลาจวด (อังกฤษ: Croakers, Drums) เป็นวงศ์ในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sciaenidae (/เซีย-เอ็น-อิ-ดี้/)
โดยมากเป็นปลาทะเล มีรูปร่างที่คล้ายกันคือ มีส่วนหัวโต จะงอยปากยื่นยาวแต่ปลายมน ตาโตอยู่ค่อนข้างไปทางด้านบนของหัว ปากมักอยู่ไปทางด้านล่าง ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็ก ๆ มักมีรูเล็ก ๆ อยู่ใต้คาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน โคนครีบหางคอดกิ่ว ปลายหางอาจจะมีปลายแหลมหรือตัดตรง เกล็ดมีขนาดเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวจนถึงปลายครีบหาง ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก มีกระเพาะลมขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อรอบ ซึ่งสามารถทำเสียงได้เวลาตกใจหรือในฤดูผสมพันธุ์
พบในเขตอบอุ่นรอบโลกมากกว่า 270 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น สกุล Aplodinotus ส่วนมากพบในน้ำกร่อย สำหรับในประเทศไทยพบราว 40 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงชนิดเดียว คือ ปลาม้า (Boesemania microlepis)
สำหรับปลาในวงศ์นี้ ภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจวด" หรือ "ปลาหางกิ่ว"[1]
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื้อมีรสชาติอร่อย มีอยู่ชนิดหนึ่งที่เป็นปลาที่หายากมาก พบในเขตทะเลประเทศจีน คือ Bahaba taipingensis มีราคาซื้อขายที่สูงมาก[2] ในเกาหลี ปลาในวงศ์นี้ถูกเรียกว่า "มิน-ออ" (เกาหลี: 민어; Min-eo) เป็นอาหารที่ชาวเกาหลีมักรับประทานกันในฤดูร้อน ด้วยเชื่อว่าดับร้อนได้ มีการปรุงทั้งแบบสดและแห้ง จัดเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายแพง[3]
สกุล
[แก้]- Aplodinotus
- Argyrosomus
- Aspericorvina
- Atractoscion
- Atrobucca
- Austronibea
- Bahaba
- Bairdiella
- Boesemania
- Cheilotrema
- Chrysochir
- Cilus
- Collichthys
- Corvula
- Ctenosciaena
- Cynoscion
- Daysciaena
- Dendrophysa
- Elattarchus
- Equetus
- Genyonemus
- Isopisthus
- Johnius
- Kathala
- Larimichthys
- Larimus
- Leiostomus
- Lonchurus
- Macrodon
- Macrospinosa
- Megalonibea
- Menticirrhus
- Micropogonias
- Miichthys
- Miracorvina
- Nebris
- Nibea
- Odontoscion
- Ophioscion
- Otolithes
- Otolithoides
- Pachypops
- Pachyurus
- Panna
- Paralonchurus
- Paranibea
- Pareques
- Pennahia
- Pentheroscion
- Plagioscion
- Pogonias
- Protonibea
- Protosciaena
- Pseudosciaena
- Pseudotolithus
- Pteroscion
- Pterotolithus
- Roncador
- Sciaena
- Sciaenops
- Seriphus
- Sonorolux
- Stellifer
- Totoaba
- Umbrina
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 145. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ "Chinese fisherman hooks £300,000 fish". telegraph. 21 August 2012. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
- ↑ "โลกยามเช้าสุดสัปดาห์". ช่อง 3. 9 August 2015. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.[ลิงก์เสีย]