ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โสม"
ล →การจำแนก: อ้างอิงที่ใส่มาเสีย ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560 |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 54: | บรรทัด 54: | ||
== การจำแนก == |
== การจำแนก == |
||
คำว่า ''Panax'' มีรากศัพท์มาจาก[[ภาษากรีก]]แปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"<ref>[http://www.schumit.com/default.asp?pgid=103 โสมคืออะไร]</ref>{{ |
คำว่า ''Panax'' มีรากศัพท์มาจาก[[ภาษากรีก]]แปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"<ref>[http://www.schumit.com/default.asp?pgid=103 โสมคืออะไร]</ref>{{ลิงก์เสีย}} |
||
* ''[[Panax ginseng]]'' <small>C.A. Mey.</small> – โสมจีน |
* ''[[Panax ginseng]]'' <small>C.A. Mey.</small> – โสมจีน |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:48, 13 กันยายน 2561
โสม | |
---|---|
รากโสมเกาหลี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Araliaceae |
สกุล: | Panax L. |
ชนิดต้นแบบ | |
P. quinquefolius L. [1] | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
โสม เป็นพืชในสกุล Panax ในวงศ์เล็บครุฑ (Araliaceae) โตได้ในซีกโลกเหนือในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ
ประวัติ
โสม เป็นพืชสมุนไพรโบราณ มีหลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามแต่สถานที่เพาะปลูก เช่น โสมจีน โสมเกาหลี โสมอเมริกา แรกเริ่มเดิมทีนั้นการใช้โสมถูกบันทึกไว้ในตำรับยาแพทย์แผนจีนหลายพันปีก่อน เชื่อกันว่าโสมในยุคแรกที่มีการนำมาใช้คือโสมป่า ที่ขุดได้จากทางตอนเหนือของจีน มีรูปร่างของรากคล้ายกับคน (หยิ่งเซียม) และมีการใช้โสมแพร่หลายออกไปยังเกาหลี โสมเกาหลี (โสมโครยอ) และอีกหลากสายพันธุ์จากฝั่งอเมริกา ในสมัยก่อนโสมนั้นมีราคาแพงมาก เนื่องจากโสมป่านั้นเป็นของหายาก
ต้นโสม
โสมเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกยาก ต้องปลูกในที่ที่มีอากาศเย็นสม่ำเสมอ ไกลจากทะเล และดินและน้ำไม่มีมลพิษ มีรากลึกประมาณ 1 ฟุต ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร โสมทางฝั่งเอเชียนิยมเพาะปลูกกันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนโสมอเมริกาจะมาจากวิสคอนซิน หรือแคนาดา ปัจจุบันมีการเพาะปลูกโสมกันในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากโสมป่าเป็นของที่หายากแล้ว
ชนิด
เรานิยมนำโสมมาใช้เฉพาะส่วนของรากที่อยู่ลงไปใต้ดิน โสมที่ขุดนำมาใช้ได้นั้นจะมีอายุตั้งแต่ 3–6 ปี ซึ่งโสมอายุ 6 ปีจะเป็นโสมที่ถือว่ามีตัวยาสำคัญมากที่สุด โดยโสมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- โสมขาว คือโสมสดที่ขุดขึ้นมาจากดิน ล้างทำความสะอาด สามารถนำไปใช้ได้ทันที อาจนำไปตากแห้งให้น้ำระเหยออกไปเพื่อให้เก็บรักษาไว้ใช้ได้นานขึ้น ใช้เป็นส่วนผสมของยาจีนและทำอาหารได้
- โสมแดง คือโสมขาวที่นำไปผ่านวิธีการอบ เพื่อให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น ลักษณะของรากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมีความชื้นเล็กน้อย โสมแดงนี้ถือว่ามีคุณค่าทางยามากที่สุดและราคาแพง
ส่วนโสมในปัจจุบันที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น จะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้จากการนำโสมแดงและโสมขาวมาทำ เช่น โสมสกัด โสมเม็ด โสมผง หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง
ประโยชน์
สารอะแดปโทเจน (adaptogen) ในโสม มีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่าง ๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น นอกเหนือจากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีรายงานผลการวิจัยของโสมเพิ่มเติมอีกดังต่อไปนี้
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง โดยการสร้างสารอินเตอร์ฟีรอน (interferon) ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อไวรัส และกระตุ้นการสร้างโปรตีนอินเตอร์ลูคิน-1 (Interleukin-1)
- โสมมีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างพลังงาน ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และทำให้สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรืออาการวัยทอง
- ลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไต
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
- ช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ อาจถือได้ว่าเป็นไวอะกร้าธรรมชาติ
- ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
- ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
- ลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี[2]
การจำแนก
คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"[3][ลิงก์เสีย]
- Panax ginseng C.A. Mey. – โสมจีน
- Panax japonicus (T. Nees) C.A. Mey. – โสมญี่ปุ่น
- Panax pseudoginseng Wall. – ซานชี, เถียนซี
- Panax quinquefolius L. – โสมอเมริกา
- Panax trifolius L. – โสมแคระ[4]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Farr, E. R. & Zijlstra, G. eds. (1996-) Index Nominum Genericorum (Plantarum). 2009 Dec 23 [1].
- ↑ ความจริงของโสม
- ↑ โสมคืออะไร
- ↑ จาก itis.gov
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panax ที่วิกิสปีชีส์