วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Mahidol University International College | |
ชื่อย่อ | MUIC |
---|---|
สถาปนา | 26 มีนาคม พ.ศ. 2529 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณบดี | จุฬธิดา โฉมฉาย |
ที่อยู่ | 13°47′34″N 100°19′33″E / 13.792778°N 100.325833°E |
สี | สีม่วง |
เว็บไซต์ | www |
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งแรกของประเทศไทย มีผู้จบการศึกษารุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 ในหลักสูตรบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและหลักสูตรสาขาวิชาเคมี
การเรียนการสอนเน้นในลักษณะการศึกษาให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้าน และเน้นในวัฒนธรรมการเรียนรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในโลกสากลอันประกอบด้วยความหลากหลาย ปัจจุบัน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนักศึกษามากกว่า 3,200 คน สอนโดยอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ซึ่งกว่าร้อยละ 60 เป็นอาจารย์ต่างชาติ อัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์อยู่ที่ 28:1
อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์ได้มอบตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ให้แก่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล อันแสดงถึงคุณภาพของการศึกษาและบริการ รวมทั้งมาตรฐานระดับสูงในการศึกษาระดับนานาชาติ นับเป็นอีกหนึ่งรางวัลที่ยืนยันในความมุ่งมั่นของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและ การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งสู่ระดับสากล
ประวัติ
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติความเป็นมาดังนี้ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2529 ตามมติของสภามหาวิทยาลัยมหิดล สมัยศาสตราจารย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี ได้อนุมัติให้จัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งแรกที่ได้มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้น โดยในตอนนั้นใช้ชื่อว่า โครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ หรือ International Students Degree Program – ISDP มีศาสตราจารย์สิรินทร์ พิบูลนิยม เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโครงการ
โครงการนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย และในอีก 6 เดือนต่อมา คือ เดือนกันยายน พ.ศ. 2529 ทางโครงการก็ได้ต้อนรับนักศึกษารุ่นแรก ในช่วงแรกนั้น โครงการเป็นเพียงโครงการเล็กๆ เช่นเดียวกับการเริ่มต้นโครงการทั่วไป มีสำนักงานอยู่บนชั้น 2 ของอาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนักศึกษา 45 คน อาจารย์ประจำ 2 คน และอาจารย์พิเศษ 20 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี และหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ใน 7 วิชาเอก โดยมีความมุ่งหวังและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างเต็มเปี่ยม ในช่วงปีแรกๆ ที่เปิดการเรียนการสอน โครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ ก็เติบโตขึ้น จนในที่สุดจึงมีความจำเป็นต้องมีสถานที่เป็นของตัวเอง ในปี พ.ศ. 2535 ทางโครงการมีอาคารใหม่ของตัวเอง สามารถรองรับนักศึกษาจำนวน 486 คน และมีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นอีก 2 วิชาเอก คือ บริหารธุรกิจ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สภามหาวิทยาลัย สมัย ศ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติอนุมัติให้ให้โครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ เปลี่ยนแปลงมาเป็น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University International College – MUIC) อย่างเป็นทางการ มีฐานะเทียบเท่ากับคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นหน่วยงานนำร่องบริหารงานแบบนอกระบบราชการ มีการบริหารจัดการเป็นอิสระ และอาคารเรียน 6 ชั้นของวิทยาลัยก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ในอีก 2 ปีต่อมา รองรับนักศึกษาได้มากกว่า 1,000 คน มีการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ ได้แก่ การขยายหลักสูตรการศึกษา การฝึกงาน รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลี่ยน (Salaya Pavilion Hotel) โครงการเตรียมมหาวิทยาลัย และการตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลความต้องการด้านต่างๆ ของนักศึกษาและศิษย์เก่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางวิทยาลัยฯ มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านกายภาพ และด้านสังคม จำนวนผู้สมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้น มีสาขาวิชาเอกใหม่ๆ มีการสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาที่น่าสนใจ รวมถึงการขยายอาคารสถานที่ ได้แก่ การขยายอาคาร 8 ชั้น
และตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2540-2552 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จริยา บรอคเคลแมน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้วางระบบการบริหารจัดการด้วยเงินรายได้ของวิทยาลัยฯ จัดการศึกษาแบบ Liberal Arts Education ที่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้าน และในหลากหลายมิติทั้งวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ช่วงนี้จึงเริ่มมีการเปิดสอนหลักสูตรหลากหลายมากขึ้น ให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้านหลากหลายมิติ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ รับใช้สังคม อุดมคุณธรรม วิทยาลัยฯ มีเครือข่ายการศึกษาใน 5 ทวีป ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา การวิจัย และจัดให้บริการวิชาการสู่สังคม จนทำให้วิทยาลัยฯ เป็นต้นแบบของการให้บริการทางวิชาการ และเป็นแบบอย่างของการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติของประเทศไทยอย่างแท้จริง มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ [1]
30 ปีหลังจากการก่อตั้ง ขณะนี้วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตใน 19 สาขาวิชาเอก และ 22 วิชาโท ทั้งด้านศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และการจัดการ รวมทั้งหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตอีก 2 สาขา โดยมีนักศึกษาประมาณ 3,200 คน นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยฯ คาดหวังว่าจะมีนักศึกษาเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงได้ทำการจัดสร้างอาคารหลังใหม่โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประทานนามอาคารแห่งนี้ว่า "อาคารอทิตยาทร" เพื่อการเรียนการสอน มีความสูง 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม 58,000 ตารางเมตร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจซึ่งกำลังดำเนินการขอการรับรองจาก AACSB International (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการของหลักสูตรจิตรกรรมและศิลปกรรม (Fine and Applied Arts) หอแสดงศิลปะ (Art Exhibition & Gallery) รวมทั้งเป็นอาคารสำนักงานและที่จอดรถใต้ดินจำนวน 3 ชั้น จากการขยายอาคารสถานที่ใหม่นี้ ทางวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จะสามารถรองรับนักศึกษาได้ถึง 4,000 คน [2][3]
การบริหารงานภายในวิทยาลัย
หน่วยงาน / ภาควิชา
- สำนักงานคณบดี
- ภาควิชาบริหารธุรกิจ
- ภาควิชาจิตรกรรมและศิลปกรรม
- ภาควิชามนุษยศาสตร์และภาษาต่างประเทศ
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์
- ภาควิชาสังคมศาสตร์
- ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- Preparation Center for Languages and Mathematics (PC Programs)
โรงแรม
- โรงแรม Salaya Pavilion เป็นโรงแรมของวิทยาลัยนานาชาติเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดของนักศึกษาในสาขา Travel Industry Management และเปิดให้บุคคลภายนอกใช้บริการ มี 150 ห้องพัก ระบบอำนวยความสะดวกและความบันเทิงครบตามมาตรฐานโรงแรมชั้นนำของประเทศ มีห้องจัดสัมมนาและการประชุมอย่างสมบูรณ์แบบ[4]
หลักสูตร
วิทยาลัยนานาชาติ ทำการเปิดสอนทั้งหลักสูตรปริญญาตรี และปริญญาโท ดังนี้
หลักสูตรปริญญาตรี
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (BACHELOR OF ARTS : B.A.)
- สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (Communication Design)[5]
- สาขาวิชาการผลิตแอนิเมชัน (Animation Production) หยุดรับนักศึกษาชั่วคราวเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลักสูตร
- สาขาวิชาการผลิตภาพยนตร์ (Film Production) หยุดรับนักศึกษาชั่วคราวเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลักสูตร
- สาขาวิชาการผลิตสื่อโทรทัศน์ (Television Production) หยุดรับนักศึกษาชั่วคราวเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลักสูตร
- สาขาวิชาวัฒนธรรมนานาชาติศึกษาและภาษา (Intercultural Studies and Languages)[6]
- กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Science)[7]
- สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก (International Relations and Global Affairs)[8]
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (BACHELOR OF BUSINESS ADMINISTRATION : B.B.A.)[9]
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics)
- สาขาวิชาการเงิน (Finance)
- สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)
- สาขาวิชาการตลาด (Marketing)
- หลักสูตรการจัดการบัณฑิต (BACHELOR OF MANAGEMENT : B.M.)
- สาขาวิชาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ (Travel and Service Business Entrepreneurship)[10]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (BACHELOR OF SCIENCE: B.Sc.)[11]
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mathematics)
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences)
- สาขาวิชาเคมี (Chemistry)
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology)
- สาขาวิชาฟิสิกส์ (Physics)
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (BACHELOR OF COMMUNICATION ARTS IN MEDIA AND COMMUNICATION : B.COM.ARTS)
- สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร (Media and Communication)[12]
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (BACHELOR OF ENGINEERING : B.Eng.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)[13]
- หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต (BACHELOR OF ARTS AND SCIENCE : B.A.Sc.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Major in Creative Technology)[14]
หลักสูตรปริญญาโท
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration in Business Modeling and Development : M.B.A)[15]
- การวิเคราะห์และการสร้างตัวแบบธุรกิจ (Business Modeling and Development)
- การจัดการมหาบัณฑิต (Master of Management in International Hospitality Management : M.M)[16]
- สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ(หลักสูตรนานาชาติ) (International Hospitality Management)
อ้างอิง
- ↑ ประวัติวิทยาลัยนานาชาติ
- ↑ ลงนามความร่วมมือสร้าง "อาคารกิติมาศ"[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""อาคารกิติมาศ" ตึกใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-07. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/communication-design-and-media-communication/communication-design/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/thai/programs/undergraduate-programs/humanities-and-language/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/social-science/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/thai/programs/undergraduate-programs/social-science/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/business-administration/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/management/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/science/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/thai/programs/undergraduate-programs/communication-design-and-media-communication/media-and-communication/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/major-in-computer-engineering/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/thai/programs/undergraduate-programs/major-in-creative-technology/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/graduate-program/mba-overview/
- ↑ https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/graduate-program/mm/